อย่าง. คือ ตั้งอยู่ในที่เดียวกันด้วยเกิดร่วมกัน และตั้งอยู่ที่เดียวกัน |
ด้วยการละ, ชื่อว่า ตเทกฏฺา เพราะอรรถว่า ตั้งอยู่ในจิตดวงเดียว |
พร้อมกับทิฏฐินั้น, หรือบุคคลคนเดียวตลอดจนละได้. เพราะว่าเมื่อ |
ละทิฏฐิได้กิเลสเหล่านี้ คือ โลภะ โมหะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนต- |
ตัปปะ อันเกิดร่วมกันกับทิฏฐินั้น ในจิตอันเป็นอสังขาริกะ ๒ ดวง |
สัมปยุตด้วยทิฏฐิ, กิเลสเหล่านี้ คือ โลภะ โมหะ ถีนะ อุทธัจจะ |
อหิริกะ อโนตตัปปะ อันเกิดร่วมกันกับทิฏฐินั้น ในจิตที่เป็นสสังขา- |
ริกะ ๒ ดวง ย่อมละได้ด้วยการตั้งอยู่ในที่เดียวกันด้วยเกิดร่วมกัน. |
เมื่อละกิเลสคือทิฏฐิได้ เมื่อบุคคลคนหนึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ |
นั้น กิเลสเหล่านี้ คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ วิจิกิจฉา ถีนะ |
อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อันจะเป็นเหตุไปสู่อบาย ย่อมละได้ |
ด้วยสามารถการตั้งอยู่ในที่เดียวกันด้วยเกิดร่วมกัน. |
บทว่า ขนฺเธหิ ได้แก่ ด้วยขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามทิฏฐิ |
นั้น, ด้วยอรูปขันธ์ ๔ อันตั้งอยู่ในที่เดียวกันด้วยเกิดร่วมกัน และด้วย |
การ อยู่ในที่เดียวกันด้วยการละอันเป็นไปตามทิฏฐินั้น, หรือด้วย |
ขันธ์ ๕ พร้อมกับรูปอันมีทิฏฐินั้นเป็นสมุฏฐาน, ด้วยวิบากขันธ์ อัน |
เกิดขึ้นในอนาคต เพราะกิเลสมีมิจฉาทิฏฐิเป็นต้นเป็นปัจจัย. |
บทว่า พหิทฺธา จ สพพนิมิตฺเตหิ - จากสรรพนิมิตภายนอก |
ได้แก่ จากสังขารนิมิตทั้งปวง อันเป็นภายนอกจากกองกิเลสตามที่กล่าว |