พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งมรรคเบื้องสูง ดังต่อไปนี้. องค์ |
ของมรรค ๘ มีอาทิว่า ทสิสนฏฺเน สมฺมาทิฏฺิ ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ |
เพราะอรรถว่าเห็น ย่อมได้เหมือนอย่างได้ในปฐมมรรคอันเกิดในปฐม- |
ฌาน. |
ในบทเหล่านั้นมีอธิบายดังนี้ สัมมาทิฏฐิในปฐมมรรค ย่อมละ |
มิจฉาทิฏฐิ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ. แม้สัมมาสังกัปปะ |
เป็นต้น ก็พึงทราบโดยอรรถ คือ การละมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น. เมื่อ |
เป็นอย่างนั้นเพราะละทิฏฐิ ๖๒ ได้ในปฐมมรรคนั่นเอง จึงไม่มีทิฏฐิที่ |
ควรละด้วยมรรค ๓ เบื้องสูง |
ในทิฏฐิเหล่านั้นชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร ? เหมือน |
ยาพิษมีอยู่ หรือ จงอย่ามี ยาวิเศษท่านก็คงเรียกว่า อคโท อยู่นั่นเอง |
ฉันใด, มิจฉาทิฏฐิมิอยู่ หรือ จงอย่ามี นี้ก็ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิฉันนั้นนั่น |
แล. นี้เป็นเพียงชื่อต่างกันเท่านั้น, แต่ความไม่มีกิจแห่งสัมมาทิฏฐิ |
ย่อมถึงได้ใน ๓ มรรคเบื้องสูง, องค์มรรคก็ไม่บริบูรณ์. |
เพราะฉะนั้น พึงทำสัมมาทิฏฐิพร้อมด้วยกิจ. องค์มรรคจึงจะ |
บริบูรณ์. พึงแสดงสัมมาทิฏฐิในที่นี้พร้อมด้วยกิจ โดยกำหนดตามมี |
ตามได้. มานะอย่างหนึ่ง อันฆ่าด้วยมรรคที่ ๓ เบื้องสูงยังมีอยู่, มานะ |
นั้นตั้งอยู่ในฐานะของทิฏฐิ, ทิฏฐินี้ย่อมละมานะนั้นได้ เพราะเหตุ |
นั้นจึงชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ. |