๗๖๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๖๑
ความที่องค์  ๘  พร้อมด้วยกิจในอรหัตมรรค   ด้วยการละอกุศลจิตเหล่า
นั้น.
            [๑๔๔]  บทว่า  โอฬาริกา    คือ   เป็นส่วนหยาบ   เพราะความ
เป็นปัจจัยแห่งการก้าวล่วง   กายทวาร   และวจีทวาร.
            บทว่า    กามราคสญฺโชนา   คือ   สังโยชน์กล่าวคือความยินดี
ในเมถุน.    เพราะกามราคะนั้นย่อมประกอบสัตว์ไว้ในกามภพ   เพราะ
เหตุนั้นท่านจึงกล่าว  สัญโญชนะ.
            บทว่า ปฏิฆสญฺโชนา   ได้แก่   สังโยชน์  คือ  พยาบาท  เพราะ
พยาบาทนั้น    ย่อมเบียดเบียนอารมณ์     เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
ปฏิฆะ.   สังโยชน์เหล่านั้นย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดาน     ด้วยอรรถว่า
รุนแรง   เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า  อนุสยา.
            [๑๔๕]  บทว่า  อณุสหคตา   ได้แก่   ส่วนละเอียดๆ.   สหคต
ศัพท์    ในบทนี้ลงในความเป็นอย่างนั้น.   จริงอยู่  กามราคะและพยาบาท
ของพระสกทาคามี    มีเป็นด้วนน้อยด้วยเหตุ  ๒ ประการ  คือ  เพราะ
เกิดน้อย   และเพราะครอบงำไว้ในที่นี้น้อย.   กิเลสทั้งหลายย่อมไม่เกิด
ขึ้นบ่อยๆ เหมือนกิเลสของพาลปุถุชน,   ย่อมเกิดเป็นบางครั้งบางคราว.
เมื่อเกิดย่อมไม่เกิดย่ำยี     ซ่านไปปกปิดทำให้มืดมิดเหมือนของคนพาล.
แต่เกิดขึ้นอ่อน ๆ มีอาการเบาบางเพราะละได้ด้วยมรรค  ๒,  ไม่สามารถ
ให้ถึงการก้าวล่วงไปได้.  ละกิเลสเบาบาง  ได้ด้วยอนาคามิมรรค.
            [๑๔๖]บทว่า   รูปราคา    ได้แก่   ความพอใจยินดีในรูปภพ,
บทว่า   อรูปราคา   ความพอใจยินดีใจในอรูปภพ.  บทว่า  มานา    ได้แก่
 มีลักษณะยกตน.  บทว่า  อุทฺธจฺจา - มีลักษณะไม่สงบ.
            บทว่า  อวิชฺชาย - มีลักษณะบอด.  บทว่า  ภวราคานุสยา  ได้
แก่  นอนเนื่องอยู่ในภวราคะอันเป็นไปด้วยรูปราคะและอรูปราคะ.
            [๑๔๗]บัดนี้    พระสารีบุตรเมื่อจะพรรณนาถึงมรรคญาณ    จึง
กล่าวบทมีอาทิว่า   อชาตํ   ฌาเปติ    ดังนี้.
            ในบทนั้น   หลายบทว่า   อชาตํ  ฌาเปติ  ชาเตน,   ฌานํ  เตน
ปวุจฺจติ - ย่อมเผากิเลสที่ยังไม่เกิด  ด้วยโลกุตรฌานที่เกิดแล้ว   เพราะ
เหตุนั้นท่านจงกล่าวว่าเป็นฌาน    ความว่า    สมังคีบุคคลย่อมเผา  คือ
ทำลาย    ตัดกิเลสนั้น ๆ ที่ยังไม่เกิด    ด้วยโลกุตระนั้น ๆ อันปรากฏ
ในสันดานของตน,  ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวโลกุตระนั้นว่าเป็นฌาน.
            บทว่า   ฌานวิโมกเข    กุสลตา  - เพราะความเป็นผู้ฉลาดใน
ฌานและวิโมกข์    ความว่า    สมังคีบุคคลย่อมไม่หวั่นไหวในทิฏฐิต่าง ๆ
ที่ละได้แล้วด้วยปฐมมรรค     เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานมีวิตกเป็น
ต้น   อันสัมปยุตด้วยอริยมรรคนั้น     และในอริยมรรคอันได้แก่วิโมกข์
ด้วยความไม่ลุ่มหลง.   ชื่อว่าฌานมี  ๒ อย่าง  คือ  อารัมมณูปนิชฌาน ๑
ลักขณูปนิชฌาน  ๑.  ฌานมีโลกิยปฐมฌานเป็นต้น ชื่อว่า ฌาน เพราะ
อรรถว่าเข้าไปเพ่งอารมณ์มีกสิณเป็นต้น.   วิปัสสนาสังขาร  ชื่อว่า  ฌาน