บทว่า วิปสฺสนาจ สมโถ ตทา อหุ - สมถะและวิปัสสนา |
ได้มีแล้วในขณะนั้น ความว่า เพราะเมื่อสมถะและวิปัสสนาเป็นธรรม |
คู่กัน ความปรากฏแห่งอริยมรรคย่อมมี, ฉะนั้น การประกอบธรรม |
ทั้ง ๒ นั้น ในกาลใดย่อมมีเพราะสามารถยังอริยมรรคให้เกิดขึ้น, ใน |
กาลนั้นจะวิปัสสนาและสมถะได้มีแล้ว, สมถะและวิปัสสนา ชื่อว่าเกิดแล้ว. |
อนึ่ง สมถะและวิปัสสนานั้นย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่ ชื่อว่า |
สมานภาคา เพราะอรรถว่าสมถะและวิปัสสนามีส่วนเสมอกัน ชื่อว่า |
ยุคนัทธา เพราะดุจเทียมคู่กัน, อธิบายว่า มีธุระเสมอกัน มีกำลัง |
เสมอกัน ด้วยอรรถว่าไม่ก้าวล่วงกันและกัน. ส่วนความพิสดารของ |
บทนั้นจักมีแจ้งใน ยุคนัทธกถา. |
หลายบทว่า ทุกฺขา สงฺขารา, สุโข นิโรโธติ ทสฺสนํ, |
ทุภโต วุฏฺิตา ปญฺา ผสฺเสติ อมตํ ปทํ - ความเห็นว่าสังขาร |
ทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข ชื่อว่าปัญญาที่ออกจากธรรมทั้งสอง |
ย่อมถูกต้องอมตบท ความว่า สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธ คือ |
นิพพานเป็นสุข เพราะเหตุนั้นการเห็นนิพพาน อริยมรรคญาณของผู้ |
ปฏิบัติ ชื่อว่าปัญญาออกจากธรรมทั้ง ๒ นั้น. ปัญญานั้นนั่นแล ย่อม |
ถูกต้อง คือ ย่อมได้อมตบท คือ นิพพาน ด้วยถูกต้องอารมณ์. นิพพาน |
ชื่อว่า อมตํ เพราะเป็นเช่นกับอมตะด้วยอรรถว่าไม่เดือดร้อน. ชื่อว่า |
อมตํ เพราะนิพพานนั้นไม่มีความตาย ความเสื่อม, ท่านกล่าวว่า ปทํ |