บทว่า ทวินฺนํ าณานํ กุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในญาณ |
ทั้ง ๒ ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้ง ๒ เหล่านี้ คือ ทัสนะและ |
ภาวนา. |
บทว่า ทสฺสนํ ได้แก่ โสดาปัตติมรรค. เพราะว่า โสดาปัตติ- |
มรรคนั้นท่านกล่าวว่า ทสฺสนํ - ทัสนะ เพราะเห็นนิพพานก่อน. |
ส่วนโคตรภูญาณ ย่อมเห็นนิพพานก่อนกว่าก็จริง, ถึงดังนั้นท่านไม่ |
เรียกว่าทัสนะ - เห็น เพราะไม่มีการละกิเลสที่ควรทำ เหมือนอย่างว่า |
บุรุษผู้มาสู่สำนักของพระราชาด้วยกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้เห็นพระ- |
ราชาผู้ประทับบนคอช้างเสด็จมาตามถนนแต่ที่ไกลเทียว ถูกเขาถามว่า |
ท่านเฝ้าพระราชาแล้วหรือ แม้เห็นแล้วก็กล่าวว่า ข้าพเจ้ายังมิได้เฝ้า |
เพราะความที่กิจอันบุคคลพึงกระทำตนยังมิได้กระทำฉะนั้น. จริงอยู่ |
โคตรภูญาณนั้นตั้งอยู่ในที่อาวัชชนะ คือการนึกถึงมรรค. |
บทว่า ภาวนา ได้แก่ มรรค ๓ ที่เหลือ. เพราะมรรค ๓ ที่ |
เหลือนั้นย่อมเกิดขึ้น ด้วยสามารถภาวนในธรรมที่เห็นแล้วด้วยปฐม- |
มรรคนั่นเอง, ไม่เห็นอะไร ๆ ที่ไม่เคยเห็น, ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า |
ทสฺสนํ. แต่ภายหลังท่านไม่กล่าวว่า ทวินฺนํ าณฺนํ - แห่งญาณ |
๒ อย่าง เพราะภาวนามรรคยังไม่เสร็จ แล้วกล่าวว่า ฌานวิโมกฺเข |
กุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์ หมายถึงผู้ได้โสดา- |
ปัตติมรรค สกทาคามิมรรคและอนาคามิมรรค, แต่พึงทราบว่า ท่าน |