๗๖๘    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๖๙
ออกจากรูปราคะ   อรูปราคะ    มานะ    อุทธัจจะ   ถีนมิทธะ   อวิชชา
ภวราคานุสัย   มานานุสัย   อวิชชานุสัย    ย่อมออกจากเหล่ากิเลสที่เป็น
ไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น       จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้น       เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกไปนั้น
การระงับปโยคะที่ออกนั้นเป็นผลของมรรค.
          ชื่อว่าญาณ    เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น   ชื่อว่าปัญญา   เพราะ
อรรถรู้ว่าชัด   เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า    ปัญญาในการระงับปโยคะ
ที่ออกนั้น  เป็นผลญาณ.
๑๒. อรรถกถาผลญาณนิทเทส
          ๑๔๘ - ๑๕๑]    พึงทราบวินิจฉัยในผลญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.
บทว่า   ตํปโยคปฺปฏิปฺปสฺสทธตฺตา - เป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออก
นั้น     ความว่า     เพราะความที่ปโยคะที่ออกทั้งภายในและภายนอกนั้น
เป็นคุณชาติระงับแล้ว.   จริงอยู่    มรรค   ชื่อว่า   ย่อมทำปโยคะที่ออก
จากทั้งสอง   ทั้งภายในและภายนอก   ด้วยการละกิเลสในขณะของตน.
การระงับอันเป็นปโยคะที่ออกจากทั้งสอง   ทั้งภายในและภายนอก  แห่ง
มรรคเป็นอันชื่อว่าสงบแล้ว   เพราะละกิเลสได้ในขณะแห่งผล.
          บทว่า    อุปฺปชฺชติ -  ย่อมเกิดขึ้น     ความว่าญาณย่อมเกิดขึ้น
ครั้งเดียว    หรือ  ๒  ครั้ง   ในลำดับแห่งมรรค.     แต่เกิดขึ้นหลายครั้ง
ในกาลแห่งผลสมาบัติ,  ย่อมเกิดแก่ผู้ออกจากนิโรธ  ๒  ครั้ง,    ญาณแม้
ทั้งหมดย่อมเกิดขึ้น  เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น.
          บทว่า   มคฺคสฺเสตํ  - ผลํ - การระงับปโยคะนั้นเป็นผลของมรรค
คือ  ท่านเพ่งถึงผล   จึงทำให้เป็นนปุงสกลิงค์   แม้ในขณะแห่งสกทาคา-
มรรคเป็นต้น    ก็พึงทราบการประกอบการออกด้วยอำนาจองค์แห่ง
มรรคองค์หนึ่ง  ๆ   นั่นแหละ.
                            จบ  อรรถกถาผลญาณนิทเทส
วิมุตติญาณนิทเทส
           [๑๕๒]   ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้น  ๆ อันอริยมรรค
นั้น ๆ  ตัดเสียแล้ว   เป็นวิมุตติญาณอย่างไร ?
           อุปกิเลสแห่งจิตของตน   คือ   สักกายทิฏฐิ   วิจิกิจฉา   สีลัพพต-
ปรามาส    ทิฏฐานุสัย   วิจิกิจฉานุสัย   เป็นกิเลสอันโสดาปัตติมรรคตัด
ขาดดีแล้ว  จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส ๕ ประการนี้   พร้อมด้วยปริยุฏฐาน
กิเลส     เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี.   ชื่อว่าญาณ     เพราะอรรถว่ารู้วิมุตตินั้น
ชื่อว่าปัญญา   เพราะอรรถว่ารู้ชัด  เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า  ปัญญา
ในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้น ๆ      อันอริยมรรคนั้น ๆ   ตัดเสียแล้ว
เป็นวิมุตติญาณ.