๗๗๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๗๓
ปัจจเวกขณญาณนิทเทส
       [๕๓]   อุปกิเลสแห่งจิตของตน  คือ  การมราคสังโยชน์  ปฏิฆ-
สังโยชน์   กามราคานุสัย   ปฏิฆานุสัย    ส่วนหยาบ ๆ  เป็นกิเลสอันสก.
ทาคามิมรรคตัดขาดดีแล้ว        จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส  ๔ ประการนี้
พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส   เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี  ชื่อว่าญาณ   เพราะ
อรรถว่ารู้วิมุตตินั้น   ชื่อว่าปัญญา   เพราะอรรถว่ารู้ชัด     เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า   ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้น ๆ อันอริยมรรค
นั้น ๆ ตัดเสียแล้ว   เป็นวิมุตติญาณ.
           [ ๑๕๔ ]   อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ กามราคสังโยชน์  ปฏิฆ-
สังโยชน์   กามราคานุสัย    ปฏิฆานุสัย   ส่วนละเอียดๆ   เป็นกิเลสอัน
อนาคามิมรรคตัดขาดดีแล้ว      จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส   ๔ประการนี้
พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส    เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี.  ชื่อว่าญาณ   เพราะ
อรรถว่ารู้วิมุตตินั้น   ชื่อว่าปัญญา   เพราะอรรถว่ารู้ชัด     เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า   ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรค
นั้นๆ ตัดเสียแล้ว   เป็นวิมุตติญาณ.
          [๑๕๕ ]   อุปกิเลสแห่งจิตของตน   คือ   รูปราคะ     อรูปราคะ
มานะ   อุทธัจจะ  อวิชชา   มานานุสัย   ภวราคานุสัย   อวิชชานุสัยเป็น
กิเลสอันอรหัตมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส  ๘ ประการ
นี้   พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส  เป็นอันพ้นแล้วด้วย ชื่อว่าญาณ เพราะ
อรรถว่ารู้วิมุตตินั้น   ชื่อว่าปัญญา   เพราะอรรถว่ารู้ชัด     เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า   ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้น ๆ   อันอริยมรรค
นั้นๆ ตัดเสียแล้ว   เป็นวิมุตติญาณ.
           [๑๕๖]   ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมใน
ขณะนั้น  เป็นปัจเวกขณญาณอย่างไร  ?
          ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค   ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ   เพราะ
อรรถว่าเห็น    ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ   เพราะอรรถว่าดำริออก   ชื่อว่า
สัมมาวาจา  เพราะอรรถว่ากำหนดเอา   ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ  เพราะ
อรรถว่าเป็นสมุฏฐาน     ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ     เพราะอรรถว่าขาวผ่อง
ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะ
อรรถว่าตั้งมั่น   ชื่อว่าสัมมาสมาธิ   เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน   ชื่อว่า
สติสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น  ชื่อว่าธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
เพราะอรรถว่าเลือกเฟ้น   ชื่อว่าวีริยสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าประ-
คองไว้     ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์    เพราะอรรถว่าแผ่ซ่านไป    ชื่อว่า
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์    เพราะอรรถว่าสงบระงับ    ชื่อว่าสมาธิสัม-
โพชฌงค์     เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน   ชื่อว่าอุเบขาสัมโพชฌงค์
เพราะอรรถว่าพิจารณาหาทาง      ชื่อว่าสัทธาพละ       เพราะอรรถว่า
ไม่หวั่นไหว    เพราะความไม่มีศรัทธา   ชื่อว่าวีริยพละ  เพราะอรรถว่า