๗๗๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๗๗
เพราะอรรถว่าเห็น  ฯลฯ  ชื่อว่าขยญาณ   เพราะอรรถว่าตัดขาด   ชื่อว่า
ฉันทะ  เพราะอรรถว่าเป็นมูล  ฯลฯ  ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ
เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด        ธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น
พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว    ย่อมพิจารณาเห็นว่า     ธรรมเหล่านี้
เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น.
          [๑๕๙]   ในขณะแห่งอรหัตผล   ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ   เพราะ
อรรถว่าเห็น   ฯลฯ   ชื่อว่าอนุปปาทญาณ   เพราะอรรถว่าระงับ   ชื่อว่า
ฉันทะ   เพราะอรรถว่าเป็นมูล  ฯลฯ  ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ
เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด          ธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น
พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว    ย่อมพิจารณาเห็นว่า    ธรรมเหล่านี้
เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น.
         ชื่อว่าญาณ   เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น    ชื่อว่าปัญญา   เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า  ปัญญาในการพิจารณาเห็น
ธรรมที่ประชุมกันในขณะนั้น  เป็นปัจจเวกขณญาณ.
๑๔. อรรถกถาปัจจเวกขณญาณนิทเทส
           ๑๕๓  - ๑๕๙]  พึงทราบวินิจฉัยในปัจจเวกขณญาณนิทเทส
ดังต่อไปนี้      พระสารีบุตรเถระครั้นกล่าวองค์แห่งมรรคไว้แผนกหนึ่ง ๆ
ก่อน    เพราะอรรถว่าเป็นเหตุในขณะแห่งมรรคนั่นเอง      แล้วจึงแสดง
ถึงโพชฌงค์ไว้แผนกหนึ่งโดยความเป็นองค์แห่งอริยะ   อันได้ชื่อว่า  โพธิ
เพราะอรรถว่าตรัสรู้ธรรมอันเป็นองค์แห่งมรรค  และมิใช่องค์แห่งมรรค
อีก.    จริงอยู่    สติสัมโพชฌงค์  ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์   วีริยสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์    เป็นองค์แห่งมรรคอย่างเดียว,       ปีติสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์   อุเบกขาสัมโพชฌงค์   มิใช่องค์แห่งมรรค.
            บรรดาธรรมทั้งหลายที่แสดงไว้ต่างหาก    โดยเป็นพละและอิน-
ทรีย์    ศรัทธาเท่านั้นมิใช่เป็นองค์แห่งมรรค.   พระสารีบุตรเถระเมื่อจะ
แสดงธรรมที่เกิดในขณะแห่งมรรคอีก   ด้วยสามารถเป็นหมวดหมู่    จึง
กล่าวคำมีอาทิว่า    อาธิปเตยฺยฏฺเ€น -  ชื่อว่าอินทรีย์     เพราะอรรถว่า
เป็นใหญ่.
         ในบทเหล่านั้นบทว่า   อุปฏฺ€านฏฺเ€น   สติปฏฺ€านา  -  ชื่อว่า
สติปัฏฐาน  เพราะอรรถว่าตั้งมั่น    ความว่า   สติเป็นไปในกาย  เวทนา
จิตธรรมมีนิพพานเป็นอารมณ์อย่างเดียวเท่านั้น   ทั้ง ๔  อย่างนั้น  ชื่อว่า
สติปัฏฐาน   ด้วยสามารถให้สำเร็จกิจในการละความสำคัญว่า   งาม  เป็น
สุข  เที่ยง   เป็นตัวตน,   วีริยะอย่างเดียวเท่านั้น  มีนิพพานเป็นอารมณ์
ชื่อว่าสัมมัปธาน ๔  ด้วยให้สำเร็จกิจ  คือ  ละอกุศลที่เกิดแล้วและอกุศล
ที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น     ให้สำเร็จกิจ   คือ    ความเกิดขึ้นแห่งกุศลที่ยัง
ไม่เกิด   และความตั้งอยู่แห่งกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว.