๗๗๘    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๗๙
          บทว่า   ตถฏฺเ€น  สจฺจา - ชื่อว่าสัจจะ  เพราะอรรถว่าจริงแท้
ความว่า   ชื่อว่าอริยสัจ  ๔   เพราะอรรถว่าไม่ผิด  ในความเป็นสัจจะมี
ทุกข์เป็นต้น.   อนึ่ง  ในบทนี้   อริยสัจ ๔ นั่นแหละ  ชื่อว่าประชุมกัน
ในครั้งนั้น    เพราะอรรถว่าเป็นการรู้แจ้งแทงตลอด.   และท่านกล่าวถึง
นิพพานไว้ต่างหากว่า  อมโตคธํ   นิพฺพานํ  - หยั่งลงสู่อมตะ คือ พระ-
นิพพาน.  ส่วนธรรมที่เหลือชื่อว่าประชุมกันในครั้งนั้น  เพราะอรรถว่า
ได้รับเฉพาะ.  ในบทนี้ควรตัดสินว่า  พระโยคาวจรย่อมพิจารณาสัจจะ  ๔
อย่างแน่นอนในที่สุดแห่งมรรคผล      เพราะคำว่า    ตถฏฺเ€น   สจฺจา
ตทา  สมุทณคตา -  ชื่อว่าสัจจะประชุมกันในครั้งนั้น    เพราะอรรถว่า
เป็นสภาวะจริงแท้.    และเพราะคำว่า   กตํ   กรณียํ   นาปรํ   อิตฺถตฺ
ตายาติ   ปชานาติ -  ย่อมรู้ว่ากิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว  ไม่มีกิจอื่นที่
ควรทำเพื่ออย่างนี้อีก  จึงเป็นอันกล่าวถึงการพิจารณาว่า    ทุกข์อันเรา
กำหนดรู้แล้ว    สมุทัยอันเราละแล้ว     นิโรธอันเราทำให้แจ้งแล้ว
มรรคอันเราเจริญแล้ว.   การพิจารณาอย่างนั้นสมควร.
          อนึ่ง  ในบทว่า สมุทโย   นี้   พึงทราบถึงกิเลสที่ทำลายด้วยมรรค
นั้นๆ นั่นแล.  ด้วยการพิจารณาสมุทัยที่ท่านกล่าวไว้ในบทนี้   ในอรรถ-
กถา   ท่านจึงกล่าวว่า  การพิจารณากิเลส  ๒   อย่าง  การพิจารณามรรค
๑. วิ. มหา. ๔/๒๓.
ผล   นิพพานมาแล้วโดยสรุปในที่นี้.  ท่านมิได้กล่าวถึงการพิจารณาทุกข์
อย่างเดียวเท่านั้น.     ถึงท่านไม่กล่าวไว้ก็จริง   ที่แท้แล้วควรถือเอาตามที่
ปรากฏในบาลีและตามความเหมาะสม.   จริงอยู่เมื่อการรู้แจ้งแทงตลอด
สัจจะ  สำเร็จแก่ผู้ปฏิบัติเพื่อรู้แจ้งแทงตลอดสัจจะ   การพิจารณาถึงกิจที่
ทำเสร็จแล้วด้วยตนเอง เป็นความสมควรทีเดียว.
            บทมีอาทิว่า   อวิกฺเขปฏฺเ€น   สมโถ  - ชื่อว่าสมถะ      เพราะ
อรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน   ความว่า   พระสารีบุตรเถระกล่าวธรรม  คือ  สมถะ
และวิปัสสนาอันสัมปยุตด้วยมรรค    เพื่อแสดงโดยอรรถมีรสอย่างเดียว
กัน  และโดยอรรถอันไม่ล่วงล้ำกัน.
            บทว่า   สํวรฏฺเ€น    สีลวิสุทฺธิ - ชื่อว่าสีลวิสุทธิ   เพราะอรรถ
ว่าสำรวม  ได้แก่   มีวาจาชอบ   มีการงานชอบ   มีการเลี้ยงชีพชอบ.
            บทว่า  อวิกฺเขปฏฺเ€น   จิตฺตวิสุทฺธิ - ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ  เพราะ
อรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน  ได้แก่   มีความตั้งใจชอบนั่นเอง.
             บทว่า  ทสฺสนฏฺเ€น   ทิฏฺ€ิวิสุทฺธิ - ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ   เพราะ
อรรถว่าเห็น  ได้แก่   เห็นชอบนั่นเอง.
             บทว่า  วิมุตฺตฏฺเ€น   เพราะอรรถว่าหลุดพ้น  คือ   หลุดพ้นจาก
กิเลส    ทำลายด้วยมรรค   ด้วยความเด็ดขาด   หรือน้อมไปในอารมณ์ คือ
นิพพาน.