๗๘๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๘๓
วัตถุนานัตตญาณนิทเทส
          [๑๖๐]   ปัญญาในการกำหนดธรรมเป็นภายใน    เป็นวัตถุนา-
นัตตญาณอย่างไร  ?
          พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมทั้งหลายเป็นภายในอย่างไร ?
          ย่อมกำหนด   ตา   หู   จมูก   ลิ้น   กาย   ใจ   เป็นภายใน.
          [๑๖๑]   พระโยคาวจรย่อมกำหนดจักษุเป็นภายในอย่างไร  ?
           ย่อมกำหนดว่า   จักษุเกิดเพราะอวิชชา  เกิดเพราะตัณหา   เกิด
เพราะกรรม   เกิดเพราะอาหาร  อาศัยมหาภูตรูป  ๔  เกิดแล้ว   เข้ามา
ประชุมแล้ว   ว่า  จักษุไม่มีแล้วมี      มีแล้วจักไม่มี   ย่อมกำหนดจักษุ
โดยความเป็นของมีที่สุด     กำหนดว่าจักษุไม่ยั่งยืน   ไม่เที่ยง    มีความ
แปรปรวนไปเป็นธรรมดา    จักษุไม่เที่ยง    อันปัจจัยปรุงแต่ง    อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น   มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา   เสื่อมไปเป็นธรรมดา    คลาย
๑. วิสุทธิมรรคบาลี หน้า ๒๒๐ - ๒๒๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๐๓) แสดงการเกิด
ของรูปธรรมไว้ว่า
อวิชฺชา ตณฺหา อุปาทานํ กมฺมนฺติ อิเม จตฺตาโร ฯเปฯ ปจฺจยปริคฺคหํ
กโรติ = รูปธรรมนี้ มีเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น ๕ อย่าง คือ อวิชชา ตัณหา
อุปาทาน เป็นเหมือนมารดาผู้เป็นเหตุให้บุตรเกิด กรรม เป็นเหมือนบิดาผู้ทำให้
เกิด ส่วนอาหาร เป็นปัจจัยอุปการะรูปนั้นให้ดำรงอยู่เป็นเหมือนพี่เลี้ยงคอยอุ้มชู
ตามที่กล่าวมานี้แสดงถึงการเกิดของรูปธรรม เพราะธรรม ๕ คือ อวิชชา ตัณหา
อุปาทาน กรรม และอาหาร. ส่วนในปฏิสัมภิทานี้ ท่านแสดงนัยอีกแบบหนึ่ง.
ไปเป็นธรรมดา    ดับไปเป็นธรรมดา     กำหนดจักษุโดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง  ไม่กำหนดโดยความเป็นของเที่ยง   กำหนดโดยความเป็นทุกข์
ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข    กำหนดโดยความเป็นอนัตตา   ไม่กำหนด
โดยความเป็นอัตตา   ย่อมเบื่อหน่าย   ไม่ยินดี    ย่อมคลายกำหนัด    ไม่
กำหนัด    ย่อมให้ราคะดับไป    ไม่ให้เกิดขึ้น    ย่อมสละคืน   ไม่ยึดถือ
เมื่อกำหนดโดยความเป็นของไม่เทียง       ย่อมละความสำคัญว่าเป็นของ
เที่ยงได้   เมื่อกำหนดโดยความเป็นทุกข์  ย่อมละความสำคัญว่าเป็นสุขได้
เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตา       ย่อมละความสำคัญว่าเป็นตัวตนได้
เมื่อเบื่อหน่าย   ย่อมละความยินดีได้   เมื่อคลายกำหนัด     ย่อมละราคะ
ได้    เมื่อให้ราคะดับ   ย่อมละเหตุให้เกิดได้  เมื่อสละคืน    ย่อมละความ
ยึดถือได้   พระโยคาวจรย่อมกำหนดจักษุเป็นภายในอย่างนี้.
           [๑๖๒]   พระโยคาวจรย่อมกำหนดหูเป็นภายในอย่างไร  ?
           ย่อมกำหนดว่า    หูเกิดเพราะอวิชชา   ฯลฯ   พระโยคาวจรย่อม
กำหนดหูเป็นภายในอย่างนี้.
            พระโยคาวจรย่อมกำหนดจมูกเป็นภายในอย่างไร ?
           ย่อมกำหนดว่า    จมูกเกิดเพราะอวิชชา   ฯลฯ    พระโยคาวจร
ย่อมกำหนดจมูกเป็นภายในอย่างนี้.
           พระโยคาวจรย่อมกำหนดลิ้นเป็นภายในอย่างไร  ?
           ย่อมกำหนดว่า    ลิ้นเกิดเพราะอวิชชา    ฯลฯ    พระโยคาวจร