๗๘๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๘๕
ย่อมกำหนดลิ้นเป็นภายในอย่างนี้.
            พระโยคาวจรย่อมกำหนดกายเป็นภายในอย่างไร ?
            ย่อมกำหนดว่า   กายเกิดเพราะอวิชชา    ฯลฯ    พระโยคาวจร
ย่อมกำหนดกายเป็นภายในอย่างนี้.
            พระโยคาวจรย่อมกำหนดใจเป็นภายในอย่างไร ?
            ย่อมกำหนดว่า    ใจเกิดเพราะอวิชชา    เกิดเพราะตัณหา    เกิด
เพราะกรรม    เกิดเพราะอาหาร    อาศัยมหาภูตรูป   ๔  เกิดแล้ว    เข้า
ประชุมกันแล้วว่า  ใจไม่มีแล้วมี   มีแล้วจักไม่มี   ย่อมกำหนดใจโดยความ
เป็นของมีที่สุด   กำหนดว่า   ใจไม่ยั่งยืน   ไม่เที่ยง    มีความแปรปรวน
ไปเป็นธรรมดา   ใจไม่เที่ยง     อันปัจจัยปรุงแต่ง     อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา   เสื่อมไปเป็นธรรมดา   คลายไปเป็นธรรมดา
ดับไปเป็นธรรมดา     กำหนดใจโดยความเป็นของไม่เที่ยง    ไม่กำหนด
โดยความเป็นของเที่ยง  กำหนดโดยความเป็นทุกข์  ไม่กำหนดโดยความ
เป็นสุข    กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดยความเป็นอัตตา
ย่อมเบื่อหน่าย  ไม่ยินดี  ย่อมคลายกำหนัด  ไม่กำหนัด  ย่อมยังราคะให้ดับ
ไม่ให้เกิด   ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ  เมื่อกำหนดโดยความเป็นของไม่เที่ยง
ย่อมละความสำคัญว่าเป็นของเที่ยงได้      เมื่อกำหนดโดยความเป็นทุกข์
ย่อมละความสำคัญว่าเป็นสุขได้   เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตาย่อม
ละความสำคัญว่าเป็นตัวตนได้   เมื่อเบื่อหน่าย  ย่อมละความยินดีได้  เมื่อ
คลายกำหนัด  ย่อมละราคะได้  เมื่อยังราคะให้ดับ   ย่อมละเหตุให้เกิดได้
เมื่อสละคืน  ย่อมละความยึดถือได้   พระโยคาวจรย่อมกำหนดใจเป็นภาย
ในอย่างนี้    ย่อมกำหนดธรรมเป็นภายในอย่างนี้.
          ชื่อว่าญาณ    เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น    ชื่อว่าปัญญา    เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด   เพราะเหตุนั้น    ท่านจึงกล่าวว่า    ปัญญาในการกำหนด
ธรรมเป็นภายใน   เป็นวัตถุนานัตตญาณ.
๑๕.  อรรถกถาวัตถุนานัตตญาณนิทเทส
         [๑๖๐ - ๑๖๒]      พึงทราบวินิจฉัยในวัตถุนานัตตญาณนิทเทส
ดังต่อไปนี้.    บทว่า   จกฺขุํ     อชฺฌตฺตํ   ววตฺเถต -  พระโยคาวจรย่อม
กำหนดจักษุเป็นภายใน    ความว่า    พระสารีบุตรเถระประสงค์จะกล่าว
โดยอาการที่พระโยคาวจรนั้นกำหนดจักษุ    จึงถามว่า   กำหนดจักษุเป็น
ภายในอย่างไร   แล้วแสดงอาการกำหนดโดยคำมีอาทิว่า  จกฺขุ  อวิชฺชา-
สมฺภูตนฺติ   ววตฺเถติ - ย่อมกำหนดว่า   จักษุเกิดเพราะอวิชชา  ดังนี้.
          พึงทราบความในบทเหล่านั้นดังต่อไปนี้     อวิชชา   ตัณหาที่เป็น
อดีต  เป็นเหตุอปถัมภ์    กรรมที่เป็นอดีตเป็นเหตุให้เกิด    อาหาร
เป็นเหตุอุปถัมภ์ในบัดนี้.   ด้วยบทนั้น   เป็นอันท่านถือเอา   อุตุและ
จิต   อุปถัมภ์จักษุด้วย.