๗๘๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๘๗
        บทว่า  จตุนฺนํ  มหาภูตานํ  อุปาทาย - จักษุอาศัยมหาภูตรูป  ๔.
บทนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ    อธิบายว่า   จักษุอาศัย
มหาภูตรูป ๔  แล้วเป็นไป.   ด้วยบทนั้น  เป็นอันท่านแสดงถึงความเป็น
ปสาทจักษุ   ปฏิเสธความเป็นสสัมภารจักษุ - เครื่องปรุงแต่งจักษุ.
          บทว่า   อุปฺปนฺนํ  - เกิดขึ้นแล้ว   คือ   เกิดขึ้นเฉพาะหน้า   ด้วย
อำนาจแห่งอัทธา  -  กาลอันยาวนาน    หรือด้วยอำนาจแห่งขณะอันเป็น
สันตติ -  การสืบต่อ.
          บทว่า   สมุทาคตํ - เข้ามาประชุมแล้ว   คือ   ตั้งขึ้นแล้วจากเหตุ.
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้      ท่านแสดงถึงการกำหนดจักษุในส่วนเบื้องต้นแห่ง
วิปัสสนา.
          ท่านแสดงถึงอนิจจานุปัสนา  ด้วยบทมีอาทิว่า  อหุตฺวา  สมฺภูตํ-
ไม่มี   แล้วมี    ความว่า   ชื่อว่า  ไม่มี   แล้วมี   เพราะไม่มีอยู่จากความ
เกิดในกาลก่อน.   ชื่อว่า   มีแล้ว   จักไม่มี  เพราะความไม่มีจากความ
เสื่อมต่อไป.
          บทว่า  อนฺตวนฺตโต - โดยความเป็นของมีที่สุด  ความว่า  ชื่อว่า
อนฺตวา  เพราะมีที่สุด.  มีที่สุดนั่นแหละ  ชื่อว่า   อนฺตวนฺโต  เหมือน
บทว่า  สติมนฺโต  คติมนฺโต   ธิติมนฺโต  จ  โย  อิส -  ผู้แสวงหาคุณ
เป็นผู้มีสติ  มีคติ  และมีธิติ.  โดยความเป็นของมีที่สุดนั้น.   อธิบายว่า
โดยความมีการดับไป.
๑. ขุ. เถร. ๒๖/๓๙๗.
         บทว่า  อทุธุวํ - ไม่ยั่งยืน  คือ  ไม่มั่นคง  เพราะตกไปในความ
ตั้งอยู่ไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง    และเพราะไม่มีความเป็นของมั่นคง.
         บทว่า  อสสฺสตํ - ความไม่เที่ยง   คือ   ไม่แน่นอน.
          บทว่า   วิปริณามธมฺมํ  มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา   คือ
มีความแปรปรวนไปเป็นปรกติด้วยอาการ  ๒   อย่าง    คือ    ด้วยความชรา
และด้วยความมรณะ.
          บทมีอาทิว่า    จกฺขุํ    อนีจฺจํ  -  จักษุไม่เที่ยง    และบทมีอาทิว่า
จกฺขุํ    อนิจฺจโต - ย่อมกำหนดจักษุโดยความเป็นของไม่เที่ยง    มีเนื้อ
ความดังได้กล่าวไว้แล้ว.
          บทมีอาทิว่า   อวิชฺชาสมฺภูโต  -  เกิดเพราะอวิชชา  ย่อมสมควร
ทีเดียว   เพราะในบทว่า   มโน   นี้   ท่านประสงค์เอาใจอันเป็นภวังค์.
          ในบทนี้ว่า       อาหารสมฺภูโต - เกิดเพราะอาหาร    พึงทราบ
ด้วยสามารถผัสสาหารและมโนสัญเจตนาหารประกอบกัน.
          บทว่า     อุปฺปนฺโน  -  เกิดขึ้นแล้ว     พึงทราบด้วยสามารถแห่ง
อัทธา -  กาลอันยาวนานและสันตติ - การสืบต่อ.
                     จบ  อรรถกถาวัตถุนานัตตญาณนิทเทส