๗๙๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๗๙๑
เป็นของมีที่สุด   กำหนดว่า    ธรรมารมณ์ไม่ยั่งยืน    ไม่เที่ยง    มีความ
แปรปรวนเป็นธรรมดา    ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง   อันปัจจัยปรุงแต่ง   อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น    มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา   เสื่อมไปเป็นธรรมดา   คลาย
ไปเป็นธรรมดา   ดับไปเป็นธรรมดา  ย่อมกำหนดธรรมารมณ์โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง   ไม่กำหนดโดยความเป็นของเที่ยง    กำหนดโดยความ
เป็นทุกข์   ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข    กำหนดโดยความเป็นอนัตตา
ไม่กำหนดโดยความเป็นอัตตา    ย่อมเบื่อหน่าย    ไม่ยินดี    ย่อมคลาย
กำหนัด  ไม่กำหนัด  ย่อมยังราคะให้ดับ   ไม่ให้เกิด  ย่อมสละคืน  ไม่
ยึดถือ    เมื่อกำหนดโดยความเป็นของไม่เที่ยง     ย่อมละความสำคัญว่า
เป็นของเที่ยงได้   เมื่อกำหนดโดยความเป็นทุกข์   ย่อมละความสำคัญว่า
เป็นสุขได้   เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตา   ย่อมละความสำคัญว่าเป็น
ตัวตนได้  เมื่อเบื่อหน่าย   ย่อมละความยินดีได้   เมื่อคลายกำหนัด  ย่อม
ละราคะได้    เมื่อยังราคะให้ดับ     ย่อมละเหตุให้เกิดได้     เมื่อสละคืน
ย่อมละความยึดถือได้      พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมารมณ์เป็นภาย
นอกอย่างนี้.
           ชื่อว่าญาณ   เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น    ชื่อว่าปัญญา    เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด     เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า      ปัญญาในการกำหนด
ธรรมเป็นภายนอก  เป็นโคจรนานัตตญาณ.
อรรถกถา   โคจรนานัตตญาณนิทเทส
            [๖๓  - ๑๖๔]   พึงทราบวินิจฉัยในโคจรนานัตตญาณนิทเทส
ดังต่อไปนี้.     บทว่า   รูเป   พหิทฺธา   ววตฺเถติ      พระโยคาวจรย่อม
กำหนดรูปเป็นภายนอก     ความว่า  ย่อมกำหนดรูปายตนธรรมอันเป็น
ภายนอกจากภายใน.
          บทมีอาทิว่า   อวิชฺชาสมฺภูตา - เกิดเพราะอวิชชา    ท่านกล่าว
ไว้แล้ว   เพราะกัมมชรูปนับเนื่องด้วยอัตภาพ.   จริงอยู่  แม้อาหารก็เป็น
ปัจจัยอุปถัมภ์กัมมชรูป.        แต่เพราะเสียงเป็นสมุฏฐานแห่งอุตุและจิต
ท่านจึงไม่กล่าวถึงธรรมหมวด ๔   มีเกิดเพราะอวิชชาเป็นต้น.   เพราะ
โผฏฐัพพะเป็นมหาภูตรูปเอง    ท่านจึงไม่กล่าวว่าอาศัยมหาภูตรูป ๔.
          อนึ่ง  ในบทว่า  ธมฺมา นี้  ได้แก่  ขันธ์ไม่มีรูป ๓ อันประกอบ
ด้วยใจอันเป็นภวังค์.    สุขุมรูปอื่นนับเนื่องในธรรมายตนะ   แม้มีกรรม
เป็นสมุฏฐานและรูปเป็นต้น   แม้ทั้งหมด.   อีกอย่างหนึ่ง  รูปใด ๆ ย่อม
เกิดขึ้นด้วยกรรมใด ๆ.  พึงทราบรูปนั้นๆ ด้วยกรรมนั้น.
          จริงอยู่     ธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น      แม้นับเนื่องในสันดาน
ของตนก็ไม่พึงสงเคราะห์เข้าไปทั้งหมด.         เพราะแม้รูปอันเนื่องด้วย
อนินทรีย์เป็นต้น   ก็เข้าถึงวิปัสสนาได้.    ฉะนั้นพึงทราบการสงเคราะห์
ธรรมเหล่านั้นด้วยบทว่า    กมฺมสมฺภูตํ - เกิดเพราะกรรม.   เพราะแม้