๘๐๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๘๐๑
กรรมขาว    ประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นกำไร   ไม่ประกอบด้วยกรรมมี
ทุกข์เป็นกำไร    ประพฤติประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นวิบาก     ประพฤติ
ไม่ประกอบด้วยธรรมมีทุกข์เป็นวิบาก   ประพฤติในญาณ    ญาณมีจริยา
เห็นปานนี้    เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า     ญาณจริยา    นี้ชื่อว่าญาณจริยา
วิญญาณจริยา   อัญญาณจริยา    ญาณจริยา   ชื่อว่า  เพราะอรรถว่า
รู้ธรรมนั้น    ชื่อว่าปัญญา    เพราะอรรถว่ารู้ชัด    เพราะเหตุนั้นท่านจึง
กล่าวว่า    ปัญญาในการกำหนดจริยา   เป็นจริยานานัตตญาณ.
๑๗.  อรรถกถาจริยานานัตตญาณนิทเทส
         ๑๖๕]  พึงทราบวินิจฉัยในจริยานานัตตญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.
ในบทมีอาทิว่า    วิญฺาณจริยา    มีความดังต่อไปนี้     ชื่อว่า    จริยา
เพราะอรรถว่าประพฤติในอารมณ์.   จริยาคือวิญญาณ     ชื่อว่า  วิญญาณ
จริยา.
          ชื่อว่า   อัญญาณจริยา    เพราะอรรถว่าประพฤติด้วยความไม่รู้,
หรือประพฤติเพราะความไม่รู้,   หรือประพฤติในอารมณ์ที่ไม่รู้,     หรือ
ประพฤติซึ่งความไม่รู้.
๑. อารมฺมเณ จรตีติ จริยา. ชื่อว่า จริยา เพราะอรรถว่าท่องเที่ยวไปในอารมณ์.
            ชื่อว่า   ญาณจริยา    เพราะอรรถว่าจริยาคือญาณ,    หรือการ
ประพฤติด้วยญาณ,  หรือประพฤติเพราะญาณ,   หรือประพฤติในอารมณ์
ที่รู้แล้ว,  หรือประพฤติซึ่งความรู้.
            บทว่า     ทสฺสนตฺถาย -  เพื่อต้องการเห็น    คือ    เป็นไปเพื่อ
ต้องการเห็นรูป.   บทว่า   อาวชฺชนกิริยาพฺยากตา  -  กิริยาคือความนึก
เป็นอัพยากฤต  คือ   ชื่อว่า   อาวัชชนะ   เพราะอรรถว่านำออกไปจาก
สันดานอันเป็นภวังค์   แล้วนึก   คือ   น้อมไปสู่จิตสันดานในรูปารมณ์.
ชื่อว่า     กิริยา    เพราะอรรถว่าเป็นเพียงการกระทำโดยความไม่มีวิบาก.
ชื่อว่า  อัพยกฤต   เพราะอรรถว่าพยากรณ์ไม่ได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล.
            บทว่า   ทสฺสนฏฺโ€ - เป็นแต่เพียงเห็น.   ชื่อว่า   ทสฺสนํ-
เพราะอรรถว่าเป็นเหตุเห็น     หรือเห็นเอง    หรือเป็นแต่เพียงเห็นรูป
นั้น.  อรรถะ   คือ  การเห็น  ชื่อว่า  ทสฺสนฏฺโ€.
            บทว่า  จกฺขุวิญฺาณํ  - จักขุวิญญาณ  ได้แก่  กุศลวิบาก  หรือ
อกุศลวิบาก.
           บทว่า    ทิฏ€ตฺตา  - เพราะได้เห็นแล้ว     คือ    เพราะได้เห็น
รูปารมณ์ด้วยจักขุวิญญาณ  เพราะไม่มีการรับอารมณ์ที่ไม่เห็น.
           บทว่า  อภินิโรปนา  วิปากมโนธาตุ -  มโนธาตุอันเป็นวิบาก
ที่ขึ้นสู่อารมณ์.    ชื่อว่า   อภินิโรปนา   เพราะอรรถว่ายกขึ้นสู่อารมณ์
ที่เห็นแล้ว.   สัมปฏิจฉนมโนธาตุเป็นวิบากทั้งสอง.