๘๐๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๘๐๓
            บทว่า    อภินิโรปิตตฺตา  -  เพราะขึ้นแล้ว    คือ    เพราะขึ้นสู่
รูปารมณ์.
            บทว่า  วิปากมโนวิญฺาณธาตุ - มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก
คือ  สันตีรณมโนวิญญาณธาตุ   พิจารณาอารมณ์เป็นวิบากทั้งสอง.  แม้
ในโสตทวารเป็นต้นก็มีนัยนี้   แม้เมื่อท่านไม่กล่าวถึงโวฏฐัพพนะ  -  การ
กำหนดอารมณ์   ในลำดับสันตีรณะ -  การพิจารณาอารมณ์ก็พึงถือเอาว่า
ย่อมได้   เพราะพระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้แล้ว.
            บทว่า   วิชานนตฺถาย  -  เพื่อต้องการรู้แจ้ง   คือ   เพื่อต้องการ
รู้แจ้งธรรมารมณ์   และอารมณ์มีรูปเป็นต้น.
            บทว่า   อาวชฺชนกิริยาพยากตา - กิริยาคือความนึกเป็นอัพยา-
กฤต  ได้แก่   จิตอันเป็นมโนทวาราวัชชนะ.
            บทว่า   วิชานนฏฺโ€  เป็นแต่เพียงรู้แจ้ง   ความว่า    การรู้แจ้ง
อารมณ์ด้วยสามารถจิตแล่นไป  ในลำดับอารมณ์นั้นเป็นอรรถ   มิใช่อื่น.
เพราะท่านกล่าวถึงชวนจิตเป็นอกุศล   และชวนจิตอันเป็นมรรคผลแห่ง
วิปัสสนาไว้ต่างหากแล้วในเบื้องหน้า    ในที่นี้ควรถือเอาชวนจิตที่เหลือ.
แต่ควรถือเอาชวนจิตที่ให้เกิดความร่าเริง       จากคำมีอาทิว่า       ชื่อว่า
วิญญาณจริยา   เพราะอรรถว่าไม่ประพฤติประกอบด้วยกุศลกรรม.  เพราะ
๑. ขุ. ป. ๓๑/๑๖๖.
ท่านกล่าวอเหตุกจิตไว้แล้ว   ในทวาร ๖    พึงทราบว่า    อเหตุกจิต   ๑๘
คือ    อาวัชชจิต  ๒    ทวิปัญจวิญญาณจิต  คือวิญญาณ ๕    อย่างละ ๒
สัมปฏิจฉนจิต  ๒  สันตีรณจิต  ๓  หสิตุปปาทจิต  - จิตให้เกิดความร่าเริง ๑
ว่าเป็นวิญญาณจริยา.
            ๑๖๖]บัดนี้     พระสารีบุตรเถระเพื่อจะแสดงว่า     ที่ชื่อว่า
วิญญาณจริยา    เพราะอรรถว่าเพียงรู้แจ้งอารมณ์   จึงกล่าวบทมีอาทิว่า
นีราคา     จรติ - ประพฤติไม่มีราคะ   ความว่า   วิญญาณย่อมถึงระหว่าง
การตั้งลงในการประกอบด้วยราคะเป็นต้น  และการประกอบด้วยศรัทธา
เป็นต้น.   เมื่อไม่มีการประกอบเหล่านั้น  วิญญาณย่อมตั้งอยู่ในที่ตั้งของ
ตน.   เพราะฉะนั้น   พระสารีบุตรเถระย่อมแสดงเพียงกิจของวิญญาณ
แห่งวิญญาณที่ท่านกล่าวแล้วนั้น   ด้วยคำมี   นีราคา   เป็นต้น.   ชื่อว่า
นีราคา    เพราะอรรถว่าประพฤติไม่มีราคะ.    อาจารย์บางพวกกล่าวทำ
เป็นรัสสะว่า   นิราคา.
            อนึ่ง   คนมีราคะด้วยความกำหนัด.  มีโทสะด้วยการประทุษร้าย.
มีโมหะด้วยการหลง.      มีมานะด้วยการถือตัว.      มีทิฏฐิด้วยความเห็น
วิปริต.   ความเป็นผู้ฟุ้งซ่าน  หรือความเป็นผู้ไม่สงบ   ชื่อว่า   อุทธัจจะ.
วิจิกิจฉา   มีอรรถดังได้กล่าวแล้ว.
            ชื่อว่า    อนุสัย    เพราะอรรถว่านอนเนื่องในสันดาน.