๘๐๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๘๐๕
กล่าวว่า   นิรนุสยา   ท่านกล่าวว่า  นานุสยา.   มีความอย่างเดียวกันว่า
ไม่มีอนุสัย. ในบทนี้  พึงทราบว่า  ไม่มีกิเลสอย่างกลางที่ถึงความครอบงำ.
            จริงอยู่ วิญญาณจริยาท่านมิได้กล่าวถึงอนุสัยที่ละได้แล้ว. พระ-
สารีบุตรเถระเพื่อแสดงถึงทัสนะในระหว่างโดยปริยายว่า   วิญญาณจริยา
ใดมีชื่อว่า   นีราคา   เป็นต้น.   วิญญาณจริยานั้นเป็นอันชื่อว่าพ้นแล้ว
จากราคะเป็นต้น   จึงกล่าวบทมีอาทิว่า    ราควิปฺปยุตฺตา  -  พ้นแล้วจาก
            อนึ่ง    เพื่อเห็นความที่จิตพ้นจากกิเลสเหล่าอื่นอีก    จึงกล่าวว่า
กุสเลหิ   กมฺเมหิ   เป็นอาทิ.   กุศลนั่นแหละเป็นกรรมไม่มีโทษ   เพราะ
ไม่มีโทษมีราคะเป็นต้น.
            ชื่อว่า   สุกฺกานิ - กรรมขาว   เพราะประกอบด้วยหิริโอตตัปปะ
อันทำความเป็นผู้บริสุทธิ์.
             ชื่อว่า    สุขุทฺรยานิ    เพราะอรรถว่ามีสุขเกิดขึ้น    เพราะมีสุข
เป็นไป.
            อีกอย่างหนึ่ง   ชื่อว่า   สุขุทฺรยานิ   เพราะอรรถว่ามีสุขเกิดขึ้น
เป็นกำไร   เพราะมีสุขเป็นวิบาก.   พึงประกอบอกุศลโดยตรงกันข้ามกับ
ที่กล่าวแล้ว.
             บทว่า วิญฺาเต  จรติ   ประพฤติในอารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว   ความว่า
อารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยความรู้ชัด  ชื่อว่า    วิญญาตะ      ในอารมณ์ที่รู้แจ้ง
แล้วนั้น.   ท่านอธิบายไว้อย่างไร.   ท่านอธิบายไว้ว่า   ชื่อว่า    วิญญาณ
จริยา    เพราะประพฤติในความรู้แจ้งอารมณ์ที่รู้แจ้ง     เพราะประกอบ
ด้วยความรู้ชัดดุจผ้าสีเขียว   เพราะประกอบด้วยสีเขียว.
            บทว่า  วิญฺาณสฺส  เอวรูปา  จริยา  โหติ  - วิญญาณมีความ
ประพฤติเห็นปานนี้     ความว่า    วิญญาณมีประการดังกล่าวแล้ว    เป็น
วิญญาณมีความประพฤติดังได้กล่าวแล้ว.   อนึ่ง   ท่านกล่าวโดยโวหารว่า
ความประพฤติของวิญญาณ.  แต่ไม่มีความประพฤติต่างหากจากวิญญาณ.
            บทว่า  ปกติปริสุทฺธมิทํ   จิตฺตํ  นิกฺกิเลสฏฺเ€น - จิตนี้บริสุทธิ์
โดยปรกติ    เพราะอรรถว่าไม่มีกิเลส    ความว่า    จิตมีประการดังกล่าว
แล้วนี้   บริสุทธิ์โดยปรกติ  เพราะไม่มีกิเลสมีราคะเป็นต้น.  เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวไว้ว่า  ชื่อว่า  วิญญาณจริยา   เพราะอรรถว่าประพฤติเพียง
รู้เท่านั้น.   ปาฐะว่า   นิเกฺลสฏฺเ€น   ก็มี.
            [๑๖๗ ]  พึงทราบวินิจฉัยใน  อญฺาณจริยา  ดังต่อไปนี้.  บทว่า
มนาปิเกสุ  - ในรูปอันเป็นที่รัก    ความว่า    ชื่อว่า   มนาปานิ   เพราะ
อรรถว่าเอิบอิ่ม   เลื่อมใสในใจ.   หรือว่า  ยังใจให้เอิบอิ่มให้เจริญ.  การ
ยิ่งใจให้เอิบอิ่มนั่นแหละ   ชื่อว่า   มนาปิกานิ.    ในรูปอันเป็นที่เอิบอิ่ม
นั้น.   รูปเหล่านั้นจะเป็นรูปที่น่าปรารถนา   หรือไม่น่าปรารถนาก็ตาม.
ด้วยอำนาจของศัพท์   คือรูปที่น่ารัก.   เพราะราคะย่อมไม่เกิดในรูปที่น่า
ปรารถนาเท่านั้น โทสะก็ย่อมไม่เกิดในรูปที่ไม่น่าปรารถนาเท่านั้น.