๘๐๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๘๐๗
            บทว่า   ราคสฺส   ชวนตฺถาย - เพื่อความแล่นไปแห่งราคะ   คือ
เป็นไปเพื่อความแล่นไปแห่งราคะด้วยอำนาจแห่งสันตติ.
            บทว่า   อาวชฺชนกิริยาพฺยากตา - กิริยาคือความนึกเป็นอัพยา-
กฤต   ความว่า   มโนธาตุเป็นกิริยา   คือความนึกเป็นอัพยากฤตเป็นการ
กระทำในใจโดยไม่แยบคาย   ในจักขุทวาร.
            บทว่า   ราคสฺส   ชวนา - ความแล่นไปแห่งราคะ    คือ   ราคะ
เป็นไป ๗ ครั้ง.   ราคะนั่นแหละเป็นไปบ่อย ๆ.
            บทว่า  อญฺาณจริยา - ประพฤติในอารมณ์ที่ไม่รู้    ท่านอธิบาย
ว่า   ประพฤติราคะโดยไม่รู้  เพราะราคะเกิดโดยไม่รู้.   แม้ในบทที่เหลือ
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
            บทว่า  ตทุภเยน  อสมเปกฺขนสฺมึ   วตฺถุสฺมึ - ในวัตถุที่มิได้
เพ่งเล็งด้วยราคะและโทสะทั้งสองนั้น  ได้แก่ ในวัตถุ กล่าวคือ รูปารมณ์
เว้นจากความเพ่งเล็ง   ด้วยอำนาจแห่งราคะและโทสะ.
            บทว่า   โมหสฺส  ชวนตถาย - เพื่อเล่นไปแห่งโมหะ  คือ  เพื่อ
แล่นไปแห่งโมหะ    ด้วยอำนาจแห่งวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ
            บทว่า   อญฺาณจริยา   คือ  ประพฤติเพื่อความไม่รู้   มิใช่เพื่อ
อย่างอื่น.
            บทมีอาทิว่า  วินิพนฺธสฺส - แห่งมานะทราบผูกพันเป็นบทกล่าวถึง
สภาพแห่งมานะเป็นต้น.
            ในบทเหล่านั้น   บทว่า   วินิพนฺธสฺส    ได้แก่   มานะที่ผูกพัน
แล้วตั้งอยู่ด้วยความเย่อหยิ่ง.
            บทว่า   ปรามฏฺ€าย   แห่งทิฏฐิที่ยึดถือ   ได้แก่    ทิฏฐิที่ก้าวล่วง
ความที่รูปเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น แล้วยึดถือความเป็นของเที่ยงเป็นต้น
จากฝ่ายอื่น.
            บทว่า    วิกฺเขปคตสฺส -  แห่งอุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่าน    คือ
อุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่านไปในรูปารมณ์.
            บทว่า   อนิฏฺ€าคตาย - แห้งวิจิกิจฉาที่ไมถึงความตกลง  คือ  ถึง
ความไม่ตัดสินใจ.
            บทว่า   ถามคตฺสฺส -  แห่งอนุสัยถึงความเป็นธรรมมีเรี่ยวแรง
คือ   ถึงความมีกำลัง.
            บทว่า   ธมฺเมสุ   คือ   ในธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น   หรือเป็น
ธรรมารมณ์.
            ๑๖๘ - ๑๗๐]  เพราะราคะเป็นต้นย่อมปรากฏด้วยความไม่รู้.
ฉะนั้น   พระสารีบุตรเถระเมื่อจะยังความไม่รู้ให้แปลกออกไป   ด้วยการ
ประกอบกิเลสมีราคะเป็นต้น    จึงกล่าวบทมีอาทิว่า    สราคา    จรติ-
ประพฤติมีราคะ.
            ในบทเหล่านั้น  บทว่า  สราคา  จรติ  พึงทราบถึงความประพฤติ
ด้วยการแล่นไปแห่งโมหะ    มานะ     ทิฏฐิ     มานานุสัย     ทิฏฐานุสัย