๘๐๘    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๘๐๙
อวิชชานุสัย.
            บทว่า  สโทสา  จรติ  ประพฤติมีโทสะ  ได้แก่   ประพฤติด้วย
การแล่นไปแห่งอวิชชาอนุสัย      คือ   โมหะ.
            บทว่า   สโมหา  จรติ - ประพฤติมีโมหะ   ได้แก่   ประพฤติด้วย
การแล่นไปแห่งราคะ  โทสะ  มานะ  ทิฏฐิ  อุทธัจจะ  และวิจิกิจฉานุสัย.
            บทว่า   สมานา   จรติ - ประพฤติมีมานะ   ได้แก่    ประพฤติ
ด้วยการแล่นไปแห่งราคะ   โมหะ   กามราคะ   ภวราคะ.   อวิชชานุสัย.
            บทว่า  สทิฏฺ€ิ  จรติ - ประพฤติมีทิฏฐิ   ได้แก่   ประพฤติด้วย
การแล่นไปแห่งราคะ   โมหะ   กามราคะและอวิชชานุสัย.
            บทว่า    สอุทฺธจฺจา    จรติ   สวิจิกิจฺฉา   จรติ - ประพฤติมี
อุทธัจจะ  ประพฤติมีวิจิกิจฉา ได้แก่ ประพฤติด้วยการแล่นไปแห่งโมหะ
คืออวิชชานุสัย.
            บทว่า สานุสยา  จรติ - ประพฤติมีอนุสัย  แม้ในบทนี้ก็ควรทำ
อนุสัยหนึ่ง ๆ    ให้เป็นมูลตามันที่กล่าวแล้วนั่นแหล่ะ     แล้วประกอบ
ความประพฤติมีอนุสัย  ด้วยอำนาจอนุสัยที่เหลือซึ่งได้ในจิตนั้น.
            บทมีอาทิว่า       ราคสมฺปยุตฺตา - ประพฤติประกอบด้วยราคะ
เป็นคำไวพจน์ของความประพฤติมีราคะเป็นต้นนั่นเอง.
            จริงอยู่     ความประพฤตินั้นเอง     ย่อมเป็นไปกับด้วยราคะ
เป็นต้นด้วยสามารถการประกอบกัน   เพราะเหตุนั้นจึงได้   ชื่อทั้งหลาย
มีอาทิว่า  สราคา-มีราคะ.  ความประพฤติ ประกอบด้วยประการทั้งหลาย
การเกิดร่วมกัน    ดับร่วมกัน     มีวัตถุร่วมกัน     และอารมณ์ร่วมกัน
เสมอด้วยราคะเป็นต้น    เพราะเหตุนั้นจึงได้    ชื่อทั้งหลาย    มีอาทิว่า
ราคสมฺปยุตฺตา.
           อนึ่ง      เพราะความประพฤตินั้นไม่ประกอบด้วยกรรมเป็นกุสล
เป็นต้น   ประกอบด้วยกรรมเป็นเสกสลเป็นต้น.  ฉะนั้น   พระสารีบุตร
เถระ.    เพื่อแสดง   อญฺาณเจริยา      จึงกล่าวบทมีอาทิว่า     กุสเลหิ
กมฺเมหิ -  ด้วยกรรมเป็นกุสล.
          ในบทเหล่านั้น    บทว่า   อณฺาเต - ในอารมณ์ที่ไม่รู้  คือ  ใน
อารมณ์ที่ไม่รู้แห่งสภาวะที่เป็นจริง  เพราะโมหะมีความไม่รู้เป็นลักษณะ.
บทที่เหลือมีความได้กล่าวไว้แล้ว.
           พึงทราบวินิจฉัยในญาณจริยาดังต่อไปนี้.   เพราะกิริยาคืออาวัช-
ชนะ - การนึกเป็นอัพยากฤต    เป็นปัจจัยในลำดับแห่งวิวัฏฏนานุปัส-
สนา - การพิจารณาเห็นความคลายออกเป็นต้นไม่มี      ฉะนั้น     เพื่อ
ประโยชน์แก่วิวัฏฏนานุปัสนาเป็นต้นเหล่านั้น         ท่านจึงไม่กล่าวถึง
กิริยาคือการนี้เป็นอัพยาฤต      กล่าววิวัฏฏนานุปัสนาเป็นต้นเท่านั้น.
จริงอยู่    การนึกย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่อนุโลมญาณเท่านั้น     จากนั้น
ท่านกล่าวถึงวิวัฏฏนานุปัสนามรรคและผล.