๘๑๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๘๑๕
ในที่มิใช่บกและมิใช่น้ำ   ท่านกล่าวว่า   สัตว์บก   สัตว์น้ำ   เหมือนกัน
ฉะนั้น.
            อีกอย่างหนึ่ง   ชื่อว่า   กามาวจร    เพราะอรรถว่ากามเคลื่อนไป
ในธรรมทั้งหลายมีประการดังกล่าวแล้วเหล่านี้    ด้วยการทำเป็นอารมณ์.
            อนึ่ง กามนั้นแม้เคลื่อนไปในรูปาวจรธรรม และอรูปาวจรธรรม
ก็จริง  ถึงดังนั้น    พึงทราบข้อเปรียบเทียบดังนี้เหมือนอย่างว่า     เมื่อ
กล่าวว่า   ชื่อว่าลูกวัว  เพราะร้อง   ชื่อว่าควาย  เพราะนอนบนแผ่นดิน.
สัตว์จำพวกไม่ร้อง   หรือจำพวกนอนบนแผ่นดิน    ชื่อนั้นย่อมมีแก่สัตว์
ทั้งปวง  ฉะนั้น.
            [๑๗๓]  ในบทนี้ท่านเพ่งถึงภูมิศัพท์    กล่าวทำธรรมเหล่านั้น
ทั้งหมดให้เป็นหมวดเดียวกันแล้ว  จึงทำให้เป็นอิตถีลิงค์ว่า   กามาวจรา.
รูปภพเป็นรูปในบทมีอาทิว่า   รูปาวจรา.    ชื่อว่ารูปาวจร   เพราะท่อง-
เที่ยวไปในรูปนั้น.
            [๑๗๔]  อรูปภพเป็นอรูป.   ชื่อว่า อรูปาวจร   เพราะท่องเที่ยว
ไปในอรูปภูมินั้น.
            [๑๗๕]  ชื่อว่า  ปริยาปนฺนา   เพราะอรรถว่านับเนื่อง  คือ  หยั่ง
ลงภายใน   ในเตภูมิกวัฏ.     ชื่อว่า   อปริยาปนฺนา    เพราะอรรถว่าไม่
นับเนื่องในเตภูมิกวัฏนั้น.
           พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งภูมิ   มีกามาวจรภูมิเป็นต้นดังต่อ
ไปนี้.
           บทว่า   เหฏฺ€โต - ข้างล่าง   คือ   โดยส่วนล่าง.
           บทว่า   อวีจินิรยํ - อเวจีนรก   ชื่ออวีจิ     เพราะอรรถว่าคลื่น
แห่งเปลวไฟ    แห่งสัตว์    แห่งเวทนา   คือ   ช่องว่า ในระหว่างไม่มีใน
อเวจีนี้.   ชื่อว่า  นิรยะ   เพราะอรรถว่าความเจริญ  คือ  ความสุข  ไม่มี
ในนรกนี้.   อนึ่ง  ชื่อว่า   นิรยะ    เพราะอรรถว่าไม่มีความยินดี.
          บทว่า  ปริยนฺตํ   กริตฺวา - กระทำเป็นที่สุด คือ  กระทำนรก
กล่าวคืออเวจีนั้นให้เป็นที่สุด.  บทว่า   อุปริโต - ข้างบน  คือ โดยส่วน
บท.  บทว่า  ปรนิมฺมิตวสวตฺตี    เทเว - เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
คือ   เทวดาที่ได้ชื่ออย่างนี้     เพราะยังอำนาจให้เป็นไปในกามที่ผู้อื่น
เนรมิตให้.  บทว่า   อนฺโต   กริติวา -กระทำในภายใน  คือ  ใส่ไว้ใน
ภายใน.  บทว่า  ยํ  เอตสฺมึ   อนฺตเร - ในระหว่างนี้  คือ ในโอกาสนี้.
อนึ่ง   บทว่า   ยํ   เป็นลิงควิปลาส.
           บทว่า   เอตฺถาวจรา -  ท่องเที่ยวไปในโอกาสนี้    ความว่า  ด้วย
บทนี้  เพราะแม้ขันธ์เป็นต้นเหล่าอื่นเที่ยวไปในโอกาสนี้บางครั้ง   โดย
เกิดขึ้นในที่บางแห่ง    ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า อวจรา   เพื่อไม่สงเคราะห์
ขันธ์เป็นต้นเหล่านั้น.    ด้วยเหตุนั้นขันธ์เป็นต้นเหล่าใด    หยั่งลงใน
โอกาสนี้   เที่ยวไปโดยเกิดในที่ทุกหนทุกแห่ง  และในกาลทุกเมื่อ.   อนึ่ง