๘๑๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๘๑๗
เที่ยวไปในส่วนเบื้องล่าง  โดยความเป็นไปหมายถึงเกิดภายใต้อเวจีรก.
ย่อมเป็นอันทำการสงเคราะห์ขันธ์เป็นต้นเหล่านั้น.   เพราะขันธ์เป็นต้น
เหล่านั้น   ชื่อว่า  อวจรา   เพราะหยั่งลงเที่ยวไป.   และเที่ยวไปในส่วน
เบื้องล่าง.
            บทว่า  เอตฺถ  ปริยาปนฺนา - อันนับเนื่องในโลกนี้    ก็ด้วย
บทนี้    เพราะขันธ์เป็นต้นเหล่านี้    ท่องเที่ยวไปในโอกาสนี้   ชื่อว่าย่อม
ท่องเที่ยวไปแม้ในโอกาสอื่น.   แต่ไม่นับเนื่องในโอกาสนี้.    ฉะนั้น
เมื่อขันธ์เป็นต้นเหล่านั้นท่องเที่ยวไปแม้ในที่อื่น        ย่อมเป็นอันท่าน
กำหนดเอา
            บัดนี้   พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงธรรมอันนับเนื่องในโอกาส
นี้     โดยความเป็นปัจจัยแห่งความว่าจากกอง     และโดยความเป็นจริง
จึงกล่าวว่า   ขนฺธธาตุอายตนา   เป็นอาทิ.
            บทว่า  พฺรหฺมโลกํ - พรหมโลก   คือ  ฐานของพรหมอันได้
ภูมิของปฐมฌาน.     บทว่า  อกนิฏฺเ€ - เทพชั้นอกนิฏฐะ  คือ  มิใช่
กนิฏฐะ   เพราะอรรถว่าสูงสุด.
            บทว่า  สมาปนฺนสฺส  คือ  เข้าสมาบัติ.  ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึง
กุศลฌาน.
            บทว่า  อุปฺปนฺนสฺส   คือ  เกิดในพรหมโลกด้วยอำนาจวิบาก.
ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึง  วิปากฌาน.
            บทว่า  ทิฏฺ€ธมฺมสุขวิหาริสฺส  -  ของท่านผู้มีธรรมเป็นเครื่อง
อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน  ได้แก่  ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน  คือ
ในอัตภาพที่ประจักษ์  ชื่อว่า  ทิฏ€ธมฺมสุขวิหาโร.     ชื่อว่า  ทิฏฺฐ-
ธมฺมสุขวิหารี  เพราะอรรถว่ามีทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรมนั้น.     ได้แก่
พระอรหันต์.       ของท่านผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันนั้น.
ด้วยบทนั้นท่านกล่าวถึง   กิริยาญาณ.
            บทว่า   เจตสิกา    ได้แก่   ธรรมที่เกิดในจิต.    อธิบายว่าธรรม
สัมปยุตด้วยจิต.   บทว่า   อากาสานญฺจายตนูปเค  ได้แก่   เทวดาผู้เข้า
ถึงอากาสานัญจายตนภพ.  แม้ในบทที่สองก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
            บทว่า   มคฺคา  ได้แก่  อริยมรรค  ๔.       บทว่า  มคฺคผลานิ
ได้แก่  ผลของอริยมรรค ๔.
             บทว่า  อสงฺขตา  จ  ธาตุ  -  อสังขตธาตุ  คือ   นิพพานธาตุที่
ปัจจัยมิได้ตกแต่ง.
            [๑๗๖]  บทว่า อปราปิ  จตสฺโส  ภูมิโย - ภูมิ ๔  อีกประการ
หนึ่ง   พึงทราบด้วยสามารถจตุกะหนึ่ง ๆ.
            บทว่า   จตฺตาโร   สติปฏฺ€านา - สติปัฏฐาน ๔  ได้แก่  กายา-
นุปัสสนาสติปัฏฐาน   เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน   จิตตานุปัสสนาสติ-
ปัฏฐาน   ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน.