๘๑๘    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๘๑๙
            มีอธิบายดังนี้    ชื่อว่า   ปฏฺ€านํ   เพราะอรรถว่าตั้งไว้    ความว่า
เข้าไปตั้งไว้  คือ   หลั่งไหลแล่นเป็นไป.   สตินั่นแหละตั้งไว้   ชื่อว่าสติ-
สติปัฏฐาน.   อีกอย่างหนึ่ง   ชื่อว่า  สติ  เพราะอรรถว่าความระลึก.   ชื่อว่า
ปฏฺ€านํ   เพราะอรรถว่าเข้าไปตั้งไว้.    สตินั้นด้วยเป็นปัฏฐาน  คือ   การ
เข้าไปตั้งไว้ด้วย   ชื่อว่า   สติปัฏฐาน.    ชื่อว่า   สติปัฏฐาน   ทั้งหลาย
เพราะสติเหล่านั้นมากด้วยอารมณ์.
            บทว่า   จตฺตาโร  สมฺมดปฺปธานา - สัมมัปธาน ๔  คือ ทำความ
เพียรเพื่อไม่ให้อกุศลที่ยังไม่เกิด  ไม่เกิดขึ้น   ๑      ทำความเพียรเพื่อ
ละอกุศลที่เกิดขึ้น   ๑    ทำความเพียรเพื่อให้กุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
ทำความเพียรเพื่อความตั้งอยู่แห่งกุศลที่เกิดขึ้น  ๑.  ชื่อว่า ปธาน เพราะ
อรรถว่าเป็นเหตุตั้งไว้  คือ   พยายาม.   บทนี้เป็นชื่อของความเพียร.
            บทว่า  สมฺมปฺปานํ  คือ เพียรไม่วิปริต   เพียรตามเหตุ  เพียร
ด้วยอุบาย     เพียรโดยแยบคาย,    ความเพียรอย่างเดียวเท่านั้นท่านทำ
เป็น   ๔  ส่วน   ด้วยสามารถแห่งกิจจึงกล่าวว่า   สมฺมปฺปธานา.
            บทว่า  จตฺตาโร   อิทฺธิปาทา  - อิทธิบาท ๔  ได้แก่   ฉันทะ
วีริตะ   จิตตะ   วิมังสา.   ความของบทนั้นได้กล่าวไว้แล้ว.
            บทว่า  จตฺตาริ  ฌานานิ - ฌาน ๔ ได้แก่  ปฐมฌานมีองค์ ๕
คือ   วิตก   วิจาร   ปีติ   สุข   เอกัคคตา.     ทุติยฌานมีองค์    คือ  ปีติ
สุข  เอกัคคตา.   ตติยฌานมีองค์ ๒   คือ   สุข   เอกัคคตา.   จตุตถฌาน
มีองค์ ๒   คือ   อุเบกขา   เอกัคคตา.      องค์เหล่านี้ท่านกล่าวว่า   ฌาน
เพราะอรรถว่าเข้าเพ่งอารมณ์
            บทว่า   จตสฺโส   อปฺปมญฺาโย - อัปปมัญญา   ได้แก่
เมตตา   กรุณา   มุทิตา   อุเบกขา   ชื่อว่าอัปปมัญญา   ด้วยการแผ่ไปไม่
มีประมาณ    จริงอยู่   อัปปมัญญาเหล่านั้น   ย่อมแผ่ไปยังสัตว์ทั้งหลาย
หาประมาณมิได้ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์.      หรือว่าแผ่ไปด้วยอำนาจการ
แผ่ไปโดยไม่มีเหลือแม้สัตว์ผู้เดียว  เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า  อปฺป-
มญฺาโย   ด้วยอำนาจการแผ่ไปไม่มีประมาณ.
            บทว่า   จคสฺโส  อรูปสมาปตฺโย -  อรูปสมาบัติ     ได้แก่
อากาสานัญจายตนสมาบัติ  วิญญาณัญจายตนสมาบัติ  อากิญจัญญายตน-
สมาบัติ  เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ.
            บทว่า  จคสฺโส  ปฎสมฺภิทา - ปฏิสัมภิทา  ๔  มีความดังได้
กล่าวไว้แล้ว.
            บทว่า  จคสฺโส   ปฏิปทา - ปฏิปทา ๔  ได้แก่   ปฏิปทา ๔ ที่
พระผุ้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
            ทุกฺขาปฏิปทา  ทนฺธาภิญฺา-ปฏิบัติลำบาก  รู้ช้า.
            ทุกฺขาปฏิปทา  ขิปฺปาภิญฺา-ปฏิบัติลำบาก  รู้เร็ว.
            สุขาปฏิปทา    ทนฺธาภิญฺา-ปฏิบัติสบาย  รู้ช้า.