๘๒๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๘๒๑
            สุขาปฏิปทา   ขิปฺปาภิญฺา - ปฏิบัติสบาย  รู้เร็ว.
            บทว่า   จตฺตาริ   อารมฺมณานิ - อารมณ์  ๔  ได้แก่  อารมณ์  ๔
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
            ปริตฺตํ   ปริตฺตารมฺมณํ - มีกำลังน้อย  มีอารมณ์เล็กน้อย ๑
            ปริตฺตํ   อปฺปมาณารมฺมณํ  -  มีกำลังน้อย  มีอารมณ์ไพบูลย์  ๑
            อปฺปมาณํ   ปริตฺตารมฺมณํ -  มีกำลังมาก  มีอารมณ์เล็กน้อย  ๑
            อปฺปมาณํ  อปฺปมาณารมฺมณํ - มีกำลังมาก  มีอารมณ์ไพบูลย์ ๑
            พึงทราบว่า   ท่านกล่าวถึงฌานมีอารมณ์   ด้วยอารมณ์ทั้งหลาย
โดยไม่ตั้งใจแน่วแน่   กำหนดอารมณ์มีกสิณเป็นต้น.
            บทว่า   จตฺตาโร   อริยวํสา - อริยวงศ์ ๔  ความว่า  พระพุทธ-
เจ้า     พระปัจเจกพุทธเจ้า     พระสาวกของพระพุทธเจ้า   ท่านกล่าวว่า
เป็นพระอริยะ.   วงศ์เชื้อสาย   ประเพณีของพระอริยะเหล่านั้น   ชื่อว่า
วงศ์ของพระอริยะ.   วงศ์ของพระอริยะเหล่านั้นเป็นอย่างไร ?   ธรรม  ๔
๑. ที. ปา ๑๑/๘๒.
๒. มีกำลังน้อย ได้แก่ฌานที่ไม่คล่องแคล่ว ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดฌานที่สูงขึ้นไป
มีกำลังมาก ได้แก่ฌานที่คล่องแคล่ว เป็นปัจจัยให้เกิดฌานสูงขึ้นไป
อารมณ์เล็กน้อย ได้แก่ฌานที่มีอารมณ์ที่ขยายไม่ได้
อารมณ์ไพบูลย์ ได้แก่ฌานที่มีอารมณ์ที่ขยายได้
ใน อภิ. สํ. ๓๔/๑๖๙ - ๑๗๑.
เหล่านี้  คือ  สันโดษด้วยจีวร ๑.  สันโดษด้วยบิณฑบาต ๑.  สันโดษ
ด้วยเสนาสนะ  ๑.    ความยินดีในภาวนา   ๑.  เมื่อกล่าวถึงสันโดษด้วย
บิณฑบาต  ท่านกล่าวถึงสันโดษด้วยคิลานปัจจัย   เพราะภิกษุใดสันโดษ
ในบิณฑบาต   ภิกษุนั้นจักไม่สันโดษในคิลานปัจจัยได้อย่างไร.
            บทว่า   จตฺตาริ   สงฺคหวตฺถูนิ - สังคหวัตถุ ๔ ได้แก่  สังคห-
วัตถุ ๔ เหล่านี้   คือ   ทาน  ๑.  เปยยวัชชะ   ๑.    อัตถจริยะ ๑.    สมา-
นัตตตา  ๑.   เป็นเหตุสงเคราะห์ชน  ๔  เหล่านี้.
            บทว่า   ทานํ  ได้แก่   การให้ตามสมควร.
            บทว่า   เปยฺยวชฺชํ   ได้แก่   พูดนำรักตามสมควร.
            บทว่า   อตฺถจริยา  ได้แก่  การทำความเจริญ   ด้วยทำกิจที่ควร
ทำในที่นั้น ๆ และด้วยการสั่งสอนสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ.
            บทว่า  สมฺนตฺตตา - ความเป็นผู้มีตนเสมอ  คือ  มีความเสมอ
ไม่ถือตัว.  อธิบายว่า  มีประมาณตน   คิดประมาณตน.   ชื่อว่า  สมา-
นตฺโต   เพราะอรรถว่ามีตนเสมอคนอื่น.   ความเป็นผู้มีตนเสมอ  ชื่อว่า
สมนัตตตา.   อธิบายว่า   การคิดประมาณตนว่า  ผู้นี้เลวกว่าเรา   ผู้นี้
เสมอเรา.  ผู้นี้ดีกว่าเราแล้วประพฤติ  คือ   ทำตามสมควรแก่บุคคลนั้น.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า    ความเป็นผู้ร่วมสุขร่วมทุกข์    ชื่อว่า   สมา-
นัตตตา.