๘๒๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๘๒๓
            ในบทว่า  จตฺตาริ   จกฺกานิ  - จักร  ๔ นี้    ได้แก่   ชื่อว่าจักร
มี  ๕  อย่าง   คือ  จักรทำด้วยไม้ ๑  จักรทำด้วยแก้ว ๑  จักรคือธรรม ๑
จักรคืออิริยาบถ  ๑  จักรคือสมบัติ  ๑.
            จักรทำด้วยไม้ในบทว่า   ข้าแต่เทวะ   จักรนั้นสำเร็จแล้ว  ๖
เดือน  หย่อน ๖  คืน.   จักรทำด้วยแก้วในบทว่า   กำหนดเอาโดย
ยังจักรให้หมุนไป.   จักรคือธรรมในบทว่า   จักรอันเราให้เป็นไป
แล้ว. จักรคืออิริยาบถในบทว่า  สรีรยนต์มีจักร  ๔  มีทวาร  ๙.
            คำว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจักร  ๔ อย่างเหล่านี้,    จักร  ๔
ย่อมเป็นไปแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย    ผู้มาประชุมพร้อมกัน
แล้ว,  จักร ๔ อย่างคืออะไร ?  คือ ปฏิรูปเทสวาสะ ๑  สัปปุริสา-
ปัสสยะ  ๑  อัตตสัมมาปณิธิ  ๑  บุพเพกตปุญญตา  ๑ นี้  ชื่อว่า
จักรคือสมบัติ.  ในที่นี้ท่านประสงค์เอาจักรคือสมบัตินั่นเอง.
            ในบทเหล่านั้นบทว่า    ปฏิรูปเทสวาโส - อยู่ในประเทศอัน
สมควร  ได้แก่  บริษัท  ๔ ปรากฏในประเทศใด.     อยู่ในประเทศอัน
สมควรเห็นปานนั้น.
            บทว่า  สปฺปุริสาปสฺสโย - อาศัยสัตบุรุษ  ได้แก่   พึง  เสพ
คบ  สัตบุรุษมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น.
๑. องฺ. จตุกฺก ๒๑/๓๒. ๒. องฺ. ติก. ๒๐/๔๕๔. ๓. ขุ. ชา. ๒๗/๑๗๙๑.
๔. ขุ. สุ. ๒๕/๓๗๗. ๕. สํ. ส. ๑๕/๗๔. ๖. องฺ. จตฺตก. ๒๑/๓๑.
           บทว่า  อตฺตสมฺมาปณิธิ -  ตั้งตนไว้ชอบ    การตั้งตนไว้ชอบ
หากว่าครั้งก่อนเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น     ละความไม่มีศรัทธาเป็นต้น
นั้น   แล้วตั้งอยู่ในศรัทธาเป็นต้น.
            บทว่า  ปุพฺเพ  จ   กตปุญฺตา - ความเป็นผู้ทำบุญไว้ในกาล-
ก่อน  ได้แก่   ความเป็นผู้สะสมกุศลไว้ในกาลก่อน.    นี้เป็นข้อกำหนด
ในบทนี้.   กุศลกรรมที่ทำด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณ    กุศลนั้นนั่นแหละ
ย่อมนำบุรุษนั้นเข้าไปในประเทศอันสมควร    ให้คบสัตบุรุษ    บุคคล
นั้นนั่นแหละ.  ย่อมตั้งตนไว้ชอบ.
            บทว่า   จตฺตาริ  ธมฺมปทานิ - ธรรมบท  ๔ ได้แก่  ส่วนแห่ง
ธรรม ๔.   ธรรมบท  ๔  คืออะไร  ?   คือ   อนภิชฌา ๑   อัพยาปาทะ ๑
สัมมาสติ  ๑   สัมมาสมาธิ  ๑
            ความไม่โลภก็ดี   การบรรลุฌาน  วิปัสสนา  มรรค  ผล  นิพพาน
ด้วยอำนาจแห่งอนภิชฌาก็ดี    ชื่อว่าธรรมบท   คือ   อนภิชฌา.
            ความไม่โกรธก็ดี   การบรรลุฌานเป็นเป็นต้น   ด้วยเมตตาเป็นหลัก
ก็ดี  ชื่อว่าธรรมบท   คือ   อัพยาปาทะ.
            การตั้งสติไว้ชอบก็ดี    การบรรลุฌานเป็นต้น   ด้วยสติเป็นหลัก
ก็ดี    ชื่อว่าธรรมบท   คือ  สัมมาสติ.