๘๒๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๘๒๕
          สมาบัติ   ๘  ก็ดี  การบรรลุฌานเป็นต้น  ด้วยสมาบัติ ๘ เป็นหลัก
ก็ดี   ชื่อว่าธรรมบท  คือ   สัมมาสมาธิ.
          อีกอย่างหนึ่ง   การบรรลุเป็นต้น  ด้วยอำนาจอสุภะ  ๑๐  ชื่อว่า
ธรรมบท  คือ  อนภิชฌา.  บรรลุฌานด้วยอำนาจพรหมวิหาร  ๑๐  ชื่อว่า
อัพยาปาทะ. บรรลุฌานด้วยอำนาจอนุสติ  ๑๐  และอาหาเรปฏิกูลสัญญา
ชื่อว่าธรรมบท   คือ  สัมมาสติ.   บรรลุฌานด้วยอำนาจกสิณ   ๑๐   และ
อานาปานาสติ  ชื่อว่าธรรมบท  คือ   สัมมาสมาธิ.   ด้วยประการฉะนี้.
         บทว่า  อิมา  จตสฺโส  ภูมิโย  - ภูมิ ๔  เหล่านี้พึงประกอบบท
หนึ่ง ๆ ด้วยสามารถจตุกะนั่นแล.
                         จบ  อรรถกถาภูมินานัตตญาณนิทเทส
ธรรมนานัตตญาณนิทเทส
           [๑๗๗]   ปัญญาในการกำหนดธรรม  ๙  เป็นธรรมนานัตตญาณ
อย่างไร   พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมทั้งหลายอย่างไร   ย่อมกำหนด
กามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล   เป็นฝ่ายอกกุศล   เป็นฝ่ายอัพยากฤต  ย่อม
กำหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล    เป็นฝ่ายอัพยากฤต     ย่อมกำหนด
อรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล   เป็นฝ่ายอัพยากฤต   ย่อมกำหนดโลกุตร-
ธรรมเป็นฝ่ายกุศล   เป็นฝ่ายอัพยากฤต.
            [๑๗๘]  พระโยคาวจรย่อมกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล
เป็นฝ่ายอกุศล  เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร ย่อมกำหนดกุศลกรรมบถ  ๑๐
เป็นฝ่ายกุศล    ย่อมกำหนดอกุศลกรรมบถ  ๑๐  เป็นฝ่ายอกุศล     ย่อม
กำหนดรูป   วิบากและกิริยาเป็นฝ่ายอัพยากฤต   พระโยคาวจรย่อมกำหนด
กามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล. เป็นฝ่ายอกุศล  เป็นฝ่ายอัพยากฤต  อย่างนี้.
            [๑๗๙]  พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปาวจรธรรมฝ่ายกุศล   เป็น
ฝ่ายอัพยากฤต   อย่างไร   ย่อมกำหนดฌาน  ๔  ของบุคคลผู้ยังอยู่ในโลก
นี้   เป็นฝ่ายกุศล    ย่อมกำหนดฌาน  ๔  ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก
เป็นฝ่ายอัพยากฤต  พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล
เป็นฝ่ายอัพยากฤต   อย่างนี้.
            [๑๘๐]  พระโยคาวจรย่อมกำหนดอรูปาวจรธรรม     เป็นฝ่าย
กุศล    เป็นฝ่ายอัพยากฤต   อย่างไร     ย่อมกำหนดอรูปาวจรสมาบัติ ๔
ของบุคคลผู้ยังอยู่ในโลกนี้   เป็นฝ่ายกุศล  ย่อมกำหนดอรูปาวจรสมาบัติ
๔  ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลกนี้     เป็นฝ่ายอัพยากฤต     พระโยคาวจร
ย่อมกำหนดอรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต   อย่างนี้.
            [๑๘๑]  พระโยคาวจรย่อมกำหนดโลกุตรธรรม   เป็นฝ่ายกุศล
เป็นฝ่ายอัพยากฤต   อย่างไร   ย่อมกำหนดอริยมรรค    ๔   เป็นฝ่ายกุศล
ย่อมกำหนดสามัญญผล  ๔  และนิพพาน   เป็นฝ่ายอัพยากฤต  พระโยคา-
วจรย่อมกำหนดโลกุตรธรรม   เป็นฝ่ายอัพยากฤต   อย่างนี้.