๘๒๘    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๘๒๙
นี้ทุกขสมุทัย   นี้ทุกขนิโรธ  นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา   ธรรมอันมี
โยนิโสมนสิการเป็นเบื้องต้น ๙ ประการนี้.
           [๑๘๔]   ความต่าง ๙ ประการ ความต่างแห่งผัสสะอาศัยความ
ต่างแห่งธาตุเกิดขึ้น   ความต่างแห่งเวทนาอาศัยความต่างแห่งผัสสะเกิด
ขึ้น   ความต่างแห่งสัญญาอาศัยความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้น     ความต่าง
แห่งความดำริอาศัยความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้น       ความต่างแห่งฉันทะ
อาศัยความต่างแห่งความดำริเกิดขึ้น   ความต่างแห่งความเร่าร้อน  อาศัย
ความต่างแห่งฉันทะเกิดขึ้น      ความต่างแห่งการแสวงหาอาศัยความต่าง
แห่งความเร่าร้อนเกิดขึ้น    ความต่างแห่งการได้รูปเป็นต้น   อาศัยความ
ต่างแห่งการแสวงหาเกิดขึ้น  ความต่าง  ๙ ประการนี้   ชื่อว่าญาณ  เพราะ
อรรถว่ารู้ธรรมนั้น   ชื่อว่าปัญญา   เพราะอรรถว่ารู้ชัด     เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า   ปัญญาในการกำหนดธรรม  ๙  ประการ      เป็นธรรม-
นานัตตญาณ.
อรรถกถา    ธรรมนานัตตญาณนิทเทส
           [๑๗๗ - ๑๗๘]   พึงทราบวินิจฉัยในธรรมนานัตตญาณนิทเทส
ดังต่อไปนี้.  บทว่า   กมฺมปเถ  ชื่อว่า   กรรมบถ  เพราะอรรถว่ากรรม
เหล่านั้นเป็นทางเพื่อไปสู่อบาย.  ซึ่งกรรมบถเหล่านั้น.
            กุศลกรรมบถ  ๑๐  ได้แก่   กายสุจริต  ๓ คือ  เว้นจากฆ่าสัตว์  ๑
เว้นจากลักทรัพย์  ๑   เว้นจากประพฤติผิดในกาม ๑ วจีสุจริต ๔ คือ
เว้นจากพูดปด ๑   เว้นจากพูดส่อเสียด   ๑   เว้นจากพูดคำหยาบ  ๑   เว้น
จากพูดเพ้อเจ้อ  ๑,  มโนสุจริต ๓ คือ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ ๑ไม่พยาบาท ๑
เห็นชอบ ๑.
            อกุศลกรรมบถ  ๑๐ ได้    ได้แก่   กายทุจริต  ๓    คือ   ฆ่าสัตว์ ๑
ลักทรัพย์ ๑  ประพฤติผิดในกาม ๑.  วจีทุจริต  ๔  คือ พูดปด  ๑  พูด
ส่อเสียด ๑   พูดคำหยาบ  ๑  พูดเพ้อเจ้อ ๑.   มโนทุจริต ๓   คือ   เพ่ง
เล็งอยากได้  ๑   พยาบาท ๑   เห็นผิด ๑.
            อนึ่ง    แม้ทั้งกุศลและอกุศลท่านก็กล่าวว่ากรรมบถ      เพราะให้
เกิดปฏิสนธิ.    เหลือจากที่กล่าวแล้วท่านไม่กล่าวว่ากรรมบถ   เพราะไม่
มีส่วนในการให้เกิดปฏิสนธิ.      พึงทราบว่า   แม้กุศลและอกุศลที่เหลือ
ท่านก็ถือเอาด้วยความมุ่งหมายถึงกุศลและอกุศลอย่างหยาบ.
            บทว่า   รูปํ    ได้แก่   รูป ๒๘    โดยประเภทเป็นภูตรูปและอุปา-
ทายรูป.
            บทว่า  วิปากํ  ได้แก่   วิบาก ๒๓  ด้วยอำนาจแห่งกามาวจรกุศล-
วิบาก ๑๖.   อกุศลวิบาก ๗.