๘๓๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๘๓๑
            บทว่า   กิริยํ   ได้แก่  กามาวจรกิริยา  ๑ ด้วยสามารถแห่งปริตต-
กิริยา ๓.  มหากิริยา ๘.  ชื่อว่ากิริยาเพราะเป็นเพียงกิริยาโดยไม่มีวิวิบาก.
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้   ท่านกล่าวกามาวจรด้วยอำนาจแห่งรูปเป็นอัพยา-
กฤต   วิบากเป็นอัพยกฤต   กิริยาเป็นอัพยากฤต.
            [๑๗๙ - ๑๘๐] บทว่า  อิธฏฺ€สฺส   ได้แก่   ของบุคคลผู้ยังอยู่
ในโลกนี้.   โดยมากท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งมนุษยโลก     เพราะมี
ฌานภาวนาในมนุษยโลก.      อนึ่ง   แม้ในเทวโลกบางแห่งบางครั้งก็ได้
ฌาน.     แม้ในพรหมโลกรูปพรหมทั้งหลายก็ยังได้   ด้วยสามารถของผู้
เกิดในพรหมโลกนั้น   ผู้เกิดในเบื้องล่าง  และผู้เกิดในเบื้องบน.   แต่ใน
ชั้นสุทธาวาสและในอรูปาวจร    ไม่มีผู้เกิดในเบื้องล่าง.      ในรูปาวจร
อรูปาวจรผู้ไม่เจริญฌาน    เกิดในเบื้องล่าง     ย่อมเกิดในกามาวจรสุคติ
เท่านั้น   ไม่เกิดในทุคติ.
            บทว่า   ตตฺรูปปนฺนสฺส - ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลกนั้น   ได้
แก่   วิบากฌาน  ๔ เป็นไปด้วยอำนาจปฏิสนธิภวังค์และจุติ   ของบุคคล
ผู้เกิดในพรหมโลกด้วยอำนาจของวิบาก.  ท่านมิได้กล่าวถึงกิริยาอันเป็น
อัพยาถฤต  ในฌานสมาบัติอันเป็นรูปาวจรและอรูปาวจร.    ถึงแม้ท่าน.
มิได้กล่าวก็จริง  พึงทราบว่า   เมื่อท่านกล่าวถึงกุศล    ก็เป็นอันกล่าว
ถึงกิริยาเป็นอัพยากฤตไว้ด้วย     เพราะเป็นไปเสมอกันด้วยกุศลโดยแท้.
พึงทราบในข้อนี้เหมือนอย่างในปัฏฐาน  ท่านสงเคราะห์กิริยาชวนะด้วย
ศัพท์กุศลชวนะว่า      เมื่อกุศลอกุศลดับ     วิบากย่อมเกิดขึ้นเพราะกุศล
อกุศลนั้นเป็นอารมณ์.
            [๑๘๑]  บทว่า  สามญฺญฺผานิ  ได้แก่   สามัญผล ๔. ด้วยบทนี้
ท่านกล่าวถึงโลกุตรวิบากเป็นอัพยากฤต.        บทว่า   นิพฺพานํ   ได้แก่
นิพพานเป็นอัพยากฤต.
            [๑๘๒]  บทว่า   ปามุชฺชมูลกา  คือ     มีความปราโมทย์เป็น
เบื้องต้น.   เพราะประกอบด้วยความปราโมทย์.
            ในบทว่า  อนิจฺจโต  มนสิกโรโต   ปามุชฺชํ   ชายติ  นี้    มี
ความว่า   เมื่อทำไว้ในใจโดยแยบคาย    ย่อมเกิดปราโมทย์.     เมื่อทำไว้
ในใจโดยไม่แยบคาย   ย่อมไม่เกิดปราโมทย์.    จริงอยู่   เมื่อทำไว้ในใจ
โดยไม่แยบคาย  กุศลจะไม่เกิด.  ไม่ต้องพูดถึงวิปัสสนาละ.   หากถามว่า
เพราะเหตุไรท่านจึงกล่าวไว้โดยสรุป.    ตอบว่า   เพื่อแสดงความที่ปรา-
โมทย์มีกำลังมาก.   เพราะเมื่อไม่มีปราโมทย์  ความไม่ยินดีความกระสัน
ก็จะเกิดขึ้นในเสนาสนะอันสงัด   และในธรรมอันเป็นอธิกุศล.    เมื่อมี
อย่างนี้ย่อมก้าวถึงภาวนาทีเดียว.
            อนึ่ง   เมื่อมีปราโมทย์   ภาวนาย่อมถึงความเต็มเปี่ยมเพราะไม่มี
ความไม่ยินดี.     เพื่อแสดงถึงความที่ภาวนามีอุปการะโดยความเป็นเบื้อง
๑. อภิ. ป. ๔๐/๔๘๐.