๘๓๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๘๓๓
ต้นของการทำไว้ในใจโดยแยบคาย   จักกล่าวถึงหมวด ๙  ข้างหน้า.
            ความปราโมทย์เพราะเป็นปัจจัยแห่งวิปัสสนาย่อมเกิดแก่ผู้เจริญ
วิปัสสนาโดยบาลีว่า
            ยโต  ยโต  สมฺมสติ    ขนฺธานํ  อุทยพุพยํ
            ลภตี  ปีติปาโมชฺชํ      อมตํ   ตํ   วิชานตํ.
                  เมื่อใดย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความ
            เสื่อมของขันธ์ทั้งหลาย     เมื่อนั้นย่อมได้ปีติและ
            ปราโมทย์นั่นเป็นอมตะของผู้รู้แจ้งทั้งหลาย.
            แต่ในที่นี้พึงถือเอาความปราโมทย์    เพราะการพิจารณากลาปะ
เป็นปัจจัย.   ความเป็นผู้ถึงความปราโมทย์  ชื่อว่า   ปามุชฺชํ  คือ  ปีติ
มีกำลังอ่อน.   พึงเห็นว่า     อักษร   ลงในอรรถแห่งอาทิกรรม.
           บทว่า   ปมุทิตสฺส  -  ถึงความปราโมทย์   ได้แก่   ถึงความปรา-
โมทย์  คือ  ยินดีด้วยความปราโมทย์นั้น.  ปาฐะว่า  ปโมทิตสฺส  บ้าง.
ความอย่างเดียวกัน .
           บทว่า  ปีติ  ได้แก่   ปีติมีกำลัง.  บทว่า  ปีติมนสฺส   ใจมีปีติ
 คือ  ใจประกอบด้วยปีติ.  พึงเห็นว่า ลบ ยุตฺต  ศัพท์เสีย  เหมือนบทว่า
อสฺสรโถ   รถเทียมด้วยม้า.     บทว่า   กาโย   ได้แก่   นามกาย   หรือ
๑. ขุ.ธ.๒๕/๓๕.
รูปกาย.       บทว่า   ปสฺสมภติ     ย่อมสงบ  คือ  เป็นผู้สงบความ
กระวนกระวาย. บทว่า ปสฺสทฺธกาโย - กายสงบ  คือ กายสบายเพราะ
ประกอบด้วยความสงบทั้งสอง.
            บทว่า   สุขํ   เวเทติ -  ย่อมได้เสวยสุข   คือ  ย่อมได้เสวยเจต-
สิกสุข.  หรือกับด้วยกายิกสุข.  บทว่า  สุขิโน - ของผู้มีความสุข  คือ
พร้อมพรั่งด้วยความสุข.  บทว่า  จิตฺตํ  สมาธิยติ - จิตย่อมตั้งมั่น   คือ
จิตย่อมตั้งมั่นเสมอ.   จิตมีอารมณ์เดียว.
            บทว่า  สมาหิเต  จิตฺเต -  เมื่อจิตตั้งมั่น   เป็นสัตตมีวิภัตติลง
ในภาวลักษณะโดยเป็นภาวะ .  ย่อมกำหนดรู้ตามความเป็นจริงโดยความ
ตั้งมั่นแห่งจิต.
            บทว่า   ยถาภูตํ  ปชานาติ - ย่อมรู้ตามความเป็นจริง คือ   รู้
สังขารตามความเป็นจริงด้วยสามารถแห่งอุทยัพพยญาณเป็นต้น.
            บทว่า  ปสฺสติ - ย่อมเห็น  คือ เห็นด้วยปัญญาจักษุการทำสิ่ง
ที่ถูกต้องนั้นดุจเห็นด้วยตา.  บทว่า  นิพฺพินฺทติ - ย่อมเบื่อหน่าย  คือ
เบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยวิปัสสนาญาณ  ๙ อย่าง
            บทว่า    นิพฺพินฺทํ    วิรชฺชติ - เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายความ
กำหนัด    คือ   เมื่อยังวิปัสสนาให้ถึงชั้นยอด    เป็นอันคลายกำหนัดจาก
สังขารโดยประกอบด้วยมรรคญาณ.