๘๓๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๘๓๕
            บทว่า   วิราคา    วิมุจฺจติ  -  เพราะคลายความกำหนัด   จิตย่อม
หลุดพ้น   คือ  จิตย่อมหลุดพ้น    ด้วยน้อมไปในนิพพานด้วยผลวิมุตติ
เพราะมรรคเป็นเหตุอันได้แก่วิราคะ.      แต่ในบางคัมภีร์ในวาระนี้ท่าน
เขียนนัยแห่งสัจจะไว้มีอาทิว่า   รู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์   ด้วยจิตตั้ง
มั่น.  อนึ่ง  ในบางคัมภีร์ท่านเขียนนัยแห่งสัจจะนั้นโดยนัยมีอาทิว่า  ย่อม
ทำไว้ในใจโดยแยบคายว่า   นี้ทุกข์.      แม้ใน ๒  วาระนั้นก็ต่างกันโดย
พยัญชนะเท่านั้น      โดยอรรถไม่ต่างกัน.     เพราะบทว่า    นิพฺพินฺทํ
วิรชฺชติ -  เมื่อมรรคญาณสำเร็จ    เพราะกล่าวถึงมรรคญาณ     เป็นอัน
สำเร็จกิจเพราะตรัสรู้อริยสัจ ๔   ด้วย.     เพราะฉะนั้น   แม้วาระที่ท่าน
กล่าวโดยนัยแห่ง   สัจจะ ๔  ก็มิได้ต่างกันโดยอรรถด้วยวาระนี้.
             [๑๘๓]   บัดนี้   พระสารีบุตรเถระเมื่อจะให้อารมณ์ต่างกัน  เพราะ
กล่าวถึงอารมณ์ไม่ต่างกันด้วยบทมีอาทิว่า อนิจฺจโต   จึงกล่าวบทมีอาทิ
ว่า  รูปํ  อนิจฺจโต   มนสิกโรติ   ย่อมมนสิการรูปโดยความเป็นของไม่
เที่ยง.
             บทว่า  โยนิโสมนสิการมูลกาคือ   ธรรมมีโยนิโสมนสิการ
เป็นเบื้องต้นเป็นหลัก.     เพราะปราโมทย์เป็นต้น   ละโยนิโสมนสิการ
เสียแล้วก็ไม่ครบ  ๙.
             บทว่า  สมาหิเตน  จิตฺเตน  -  ด้วยจิตตั้งมั่น  คือ  ด้วยจิตเป็นเหตุ.
            บทว่า  ยถาภูตํ  ปชานาติ - ย่อมรู้ตามความเป็นจริว  คือ รู้ด้วย
ปัญญา.   ท่านสงเคราะห์แม้การรู้ตามสัจจะอันเป็นส่วนเบื้องต้นด้วยการ
ฟังตาม  ในเมื่อกล่าวว่า   ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า   นี้ทุกข์.
            บทว่า   โยนิโสมนสิกาโร  ได้แก่  มนสิการโดยอุบาย.
            ๑๘๔]    ธาตุนานตฺตํ  ปฏิจฺจ  อุปฺปชฺชติ  ผสฺสนานตฺตํ
ความต่างแห่งผัสสะอาศัยความต่างแห่งธาตุเกิดขึ้น    ความว่า  ความต่าง
แห่งจักขุสัมผัสเป็นต้น  อาศัยความต่างจักขุธารตุเป็นต้นเกิดขึ้น.
            บทว่า   ผสฺสนานตฺตํ   ปฏิจฺจ - อาศัยความต่างแห่งผัสสะ  คือ
อาศัยความต่างแห่งจักขุสัมผัสเป็นต้น.
            บทว่า   เวทนานานตฺตํ  - ความต่างแห่งเวทนา คือ ความต่างแห่ง
จักขุสัมผัสสชาเวทนาเป็นต้น.
            บทว่า   สญฺานานตฺตํ  -  ความต่างแห่งสัญญา  คือ ความต่าง
แห่งกามสัญญาเป็นต้น.
            บทว่า   สงฺกปฺปนานตฺตํ -  ความต่างแห่งความดำริ   คือ  ความ
ต่างแห่งความดำริถึงกามเป็นต้น.
            บทว่า  ฉนฺทนานตฺตํ  - ความต่างแห่งฉันทะ   คือ   ความต่าง
แห่งฉันทะย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า   ฉันทะในรูป   ฉันทะในเสีย    เพราะ
ความต่างแห่งความดำริ.