ธรรมนั้น ๆ ย่อมมีกิจเป็นอันเดียวกัน กระทำให้แจ้งธรรมใด ๆ แล้ว เป็น |
อันถูกต้องตามธรรมนั้นๆ แล้ว. |
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ |
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาอันรู้ยิ่งเป็นญาตัฏฐ- |
ญาณ ปัญญาเครื่องกำหนดรู้เป็นติรณัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องละเป็น |
ปริจจาคัฎฐญาณ ปัญญาเครื่องเจริญเป็นเอกรสัฏฐญาณ ปัญญาเครื่อง |
กระทำให้แจ้งเป็นผัสสนัฏฐญาณ. |
| |
| |
๒๐ - ๒๔. อรรถกถาญาณปัญจกนิทเทส |
[๑๘๕] พึงทราบวินิจฉัยในญาณปัญจกนิทเทสดังต่อไปนี้. ท่าน |
ทำปุจฉาวิสัชนารวมเป็นอันเดียว เพราะมีความสัมพันธ์กันเป็นลำดับ |
แห่งญาณ ๕ เหล่านั้น. |
บทว่า อภิญฺาตา โหนฺติ - เป็นผู้รู้แจ้งธรรมแล้ว คือ เป็น |
ผู้รู้ด้วยดี ด้วยสามารถรู้ลักษณะแห่งสภาวธรรม. |
บทว่า าตา โหนฺติ - เป็นอันรู้ธรรมแล้ว คือ ชื่อว่า เป็น |
อันรู้แล้ว เพราะรู้ตามสภาพ ด้วยสามารถแห่งญาตปริญญา. เป็นอันรู้ |
ธรรมเหล่านั้นแล้วด้วยญาณใด. ชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถว่ารู้ญาณ |
นั้น. พึงทราบการเชื่อมว่า ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด. โดย |
นัยแม้นี้พึงประกอบแม้ญาณที่เหลือ. |