๘๓๘    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๘๓๙
            บทว่า  ปริญฺาตา   โหนฺติ - เป็นอันกำหนดรู้แล้ว   คือ  เป็น
อันรู้โดยรอบด้วยสามารถแห่งสามัญลักษณะ.
            บทว่า  ตีริตา  โหนฺติ  - เป็นอันพิจารณาแล้ว   คือ  เข้าไปกำหนด
ให้ถึงพร้อมด้วยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น     ด้วยสามารถแห่งตีรณ
ปริญญา.
            บทว่า   ปหีนา   โหนิติ - เป็นอันละได้แล้ว    คือ  เป็นอันละ
นิจสัญญาเป็นต้น   ด้วยอนิจจานุปัสนาญาณเป็นต้น   ตั้งแต่ภังคานุปัสนา-
ญาณ.
            บทว่า   ปริจฺจตฺตา   โหนฺติ  -  เป็นอันสละแล้ว   คือ   เป็นอัน
ทอดทิ้ง   ด้วยสามารถแห่งการละนั่นเอง.
            บทว่า   ภาวิตา  โหนฺติ - เป็นอันเจริญแล้ว   คือ  เป็นอันเจริญ
แล้ว   และอบรมแล้ว.
            บทว่า   เอกรสา   โหนฺติ - มีรสเป็นอันเดียวกัน    คือ  มีกิจ
อย่างเดียวกัน    ด้วยการให้สำเร็จกิจของตน     และด้วยการละฝ่ายตรง
กันข้าม.    หรือมีรสเป็นอันเดียวกัน   ด้วยวิมุตติรส     ด้วยการพ้นจาก
ธรรมเป็นฝ่ายข้าศึก.
            บทว่า   สจฺฉิกตา  โหนฺติ - เป็นอันทำให้แจ้งแล้ว   คือ   เป็น
อันทำให้ประจักษ์ว่า    ผลธรรม    ด้วยสามารถการได้    นิพพานธรรม
ด้วยสามารถการแทงตลอด.
            บทว่า   ผสฺสิตา  โหนฺติ -  เป็นอันถูกต้องแล้ว   คือ  เป็นอัน
ถูกต้อง  คือ  ได้รับผลด้วยการถูกต้อง  ด้วยการได้   และด้วยการถูกต้อง
ด้วยการแทงตลอด  ท่านกล่าวญาณ ๕ เหล่านี้   ด้วยสามารถสุตมยญาณ
แล้วในหนหลัง.  ในที่นี้ท่านกล่าวด้วยสามารถยังกิจของตนให้สำเร็จ.
                            จบ  อรรถกถาญาณปัญจกนิทเทส
ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
             [๑๘๖]  ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ    เป็นอรรถปฏิสัมภิทา-
ญาณ  ปัญญาในความต่างแห่งธรรม  เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ  ปัญญา
ในความต่างแห่งนิรุตติ    เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ     ปัญญาในความ
ต่างแห่งปฏิภาณ   เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณอย่างไร  ?
            สัทธินทรีย์เป็นธรรม    วีริยินทรีย์เป็นธรรม     สตินทรีย์เป็น
ธรรม  สมาธินทรีย์เป็นธรรม   ปัญญินทรีย์เป็นธรรม   สัทธินทรีย์เป็น
ธรรมอย่างหนึ่ง   วีริยินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง   สตินทรีย์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง     สมาธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง  ปัญญินทรีย์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง    พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด     เป็นอันรู้
เฉพาะธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล   เพราะเหตุดังนั้น   ท่าน
จึงกล่าวว่า   ปัญญาในความต่างแห่งธรรม  เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ.