สัมโพชฌงค์ เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ๆ พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ |
ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล |
เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็น |
ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ. |
[๑๙๕] สภาพที่ตั้งมั่น สภาพที่เลือกเฟ้น สภาพที่ประคอง |
ไว้ สภาพที่ผ่านซ่านไป สภาพที่สงบ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่าน สภาพที่ |
พิจารณาหาทาง สภาพที่เข้าไปตั้งอยู่ เป็นอรรถ ( แต่ละอย่าง) สภาพ |
ที่ตั้งมั่น . . . สภาพที่พิจารณาหาทางเป็นอรรถอย่างหนึ่ง ๆ พระโยคาวจร |
รู้อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่าง ๆ เหล่านี้ |
ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความ |
ต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ. |
[๑๙๖] การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๗ ประ- |
การ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๗ ประการ ธรรม |
นิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติ |
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณ |
นั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่ง |
นิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ. |
[๑๙๗] ญาณ. ในธรรม ๗ ประการ ญาณในอรรถ ๗ ประการ |
ญาณในนิรุตติ ๑๔ ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณใน |