๘๔๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๘๔๕
อรรถเป็นอย่างหนึ่ง  ญาณในนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง   พระโยคาวจรรู้ญาณ
 ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด   เป็นอันรู้เฉพาะญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณ
นั้นนั่นแล   เพราะเหตุดังนั้น   ท่านจึงกล่าวว่า   ปัญญาในความต่างแห่ง
ปฏิภาณ  เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ.
           [๑๙๘]    สัมมาทิฏฐิ   สัมมาสังกัปปะ    สัมมาวาจา    สัมมากัม-
มันตะ   สัมมาอาชีวะ    สัมมาวายามะ   สัมมาสติ   สัมมาสมาธิ  เป็นธรรม
แต่ละอย่าง ๆ   สัมมาทิฏฐิ. . . สัมมาสมาธิ   เป็นธรรมอย่างหนึ่ง  ๆ  พระ-
โยคาวจรรู้ธรรมต่าง  ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด   เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่าง ๆ
เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล   เพราะเหตุดังนั้น   ท่านจึงกล่าวว่า   ปัญญา
 ในความต่างแห่งธรรม   เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ.
           [๑๙๙]   สภาพที่เห็น   สภาพที่ดำริ   สภาพที่กำหนดเอา    สภาพ
ที่เป็นสมุฏฐาน   สภาพที่ขาวผ่อง    สภาพที่ประคองไว้     สภาพที่ตั้งมั่น
สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่าน    เป็นอรรถแต่ละอย่าง ๆ     ภาพที่เห็น...  สภาพที่
ไม่ฟุ้งซ่าน   เป็นอรรถอย่างหนึ่ง ๆ   พระโยคาวจรรู้อรรถว่า  ๆ  เหล่านี้
ด้วยญาณใด    เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่าง ๆ   เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล
เพราะเหตุดังนั้น   ท่านจึงกล่าวว่า   ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ    เป็น
อรรถปฏิสัมภิทาญาณ.
           [๒๐๐]   การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม  ๘  ประ -
การ    การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๘ ประการ   ธรรม
นิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง   อรรถนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง   พระโยคาวจรรู้นิรุตติ
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด  เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณ
นั้นนั่นแล   เพราะเหตุดังนั้น   ท่านจึงกล่าวว่า   ปัญญาในความต่างแห่ง
นิรุตติ  เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ.
          [๒๐๑]   ญาณในธรรม ๘ ประการ  ญาณในอรรถ  ๘ ประการ
ญาณในนิรุตติ  ๑๖  ประการ    ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง     ญาณใน
อรรถเป็นอย่างหนึ่ง  ญาณในนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง  พระโยคาวจรรู้ญาณ
ต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด  เป็นอันรู้เฉพาะญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณ
นั้นนั่นแล   เพราะเหตุดังนั้น   ท่านจึงกล่าวว่า   ปัญญาในความต่างแห่ง
ปฏิภาณ   เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ.
           ชื่อว่าญาณ   เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น    ชื่อว่าปัญญา    เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด    เพราะเหตุนั้น   ท่านจึงกล่าวว่า   ปัญญาในความต่างแห่ง
อรรถ  เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ   ปัญญาในความต่างแห่งธรรม   เป็น
ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ     ปัญญาในความต่างแห่งนิรุตติ   เป็นนิรุตติปฏิ-
สัมภิทาญาณ   ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ  เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา-
ญาณ.