๘๔๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๘๔๗
๒๕ - ๒๘.  อรรถกถาปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
            ๑๘๖ - ๒๐๑]  พึงทราบวินิจฉัยในปฏิสัมภิทาญาณนิทเทสดังต่อ
ไปนี้.   เพราะเมื่อท่านไม่กล่าวธรรมไว้ก็ไม่สามารถจะกล่าวถึงกิจของ
ธรรมนั้นได้.     ฉะนั้น      จึงไม่สนใจลำดับที่ท่านยกขึ้นชี้แจงธรรม
ทั้งหลายก่อน.   อรรถแห่งธรรมเป็นต้นท่านได้กล่าวไว้แล้ว.
            พระสารีบุตรเถระกล่าวธรรมอันนับเนื่องด้วย    ธมฺม    ศัพท์
ด้วยบทมีอาทิว่า   สทฺธินฺทฺริยํ   ธมฺโม - สัทธินทรีย์เป็นธรรม  เมื่อจะ
แสดงอรรถแห่ง  นานตฺต ศัพท์  จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อญฺโ  สทฺธินฺทฺริยํ
ธมฺโม - สัทธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง.    จริงอยู่    เมื่อท่านกล่าวว่า
อญฺโญ   ธมฺโม    เป็นธรรมอย่างหนึ่ง   เป็นอันท่านแสดงถึงความต่าง
กันแห่งธรรมทั้งหลาย.
            บทว่า   ปฏิวิทิตา  - รู้เฉพาะแล้ว    คือ   รู้โดยความเป็นธรรม
เฉพาะหน้า   ชื่อว่า   ปรากฏแล้ว.   ด้วยบทนั้น   ท่านกล่าวอรรถแห่ง
บทปฏิสัมภิทา.
            พระสารีบุตรเถระแสดงถึงกิจมีการน้อมใจเชื่อเป็นต้น       เป็น
อรรถแห่งศรัทธาเป็นต้นเหล่านั้น     ด้วยบทมีอาทิว่า    อธิโมกฺขฏฺโ€
อตฺโถ - สภาพว่าน้อมใจเชื่อเป็นอรรถ.
            บทว่า  สนฺทสฺเสตุํ  คือ  เพื่อแสดงอย่างอื่นแก่ผู้ใคร่จะรู้  แต่เมื่อ
 ผู้อื่นฟังถ้อยคำก็ย่อมได้เหมือนกัน.
            บทว่า   พยญฺชนนิรุตฺตาภิลาปา - การระบุพยัญชนะและนิรุตติ
คือ   นามพยัญชนะ  นามนิรุตติ   นามาภิลาปะ.   ชื่อที่ยังอรรถให้ปรากฏ
ชื่อว่า พยัญชนะ. ชื่อว่า นิรุตติ  เพราะเจาะจงอย่างนี้ว่า  ดูก่อนภิกษุ-
ทั้งหลาย  สิ่งทั้งหลายย่อมปรุงแต่งสิ่งที่เป็นสังขตะ   เพราะฉะนั้น  จึง
เรียกว่า    สังขาร    แล้วกล่าวทำให้มีเหตุ,  ท่านกล่าวว่า  อภิลาปะ
เพราะเป็นเหตุระบุความ.
            อนึ่ง   ชื่อว่า  นาม  นี้  มี  ๔  อย่าง   คือ  สามัญนาม  ๑  คุณ
นาม  ๑  กิตติมนาม  ๑  โอปปาติกนาม  ๑.  ในนาม  ๔  อย่างนั้น  ใน
ปฐมกัปพระนามของพระราชาว่า   มหาสมมติราช  เพราะมหาชนสมมติ
ตั้งขึ้น  ชื่อว่า  สามัญนาม - นามโดยสามัญ.
            ท่านกล่าวหมายถึง   บทว่า  ดูก่อนวาเสฏฐะ   และภารทวาชะ
เพราะเหตุที่ผู้เป็นหัวหน้า   อันมหาชน  สมมติดังนี้แล    อักขระว่า
มหาชนสมมติ     จึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก.
            ชื่อที่ได้มาโดยคุณความดีอย่างนี้ว่า   พระธรรมกถึก   ปังสุกูลิก-
ภิกษุ  วินัยธรภิกษุ   ติปิฎกธรภิกษุ  ผู้มีศรัทธา  ผู้มีสติ   ดังนี้   ชื่อว่า
๑. สํ. ขนฺธ. ๑๗/๑๕๙. ๒. ที. ปา. ๑๑/๖๓.