๘๕๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๘๕๗
เพราะเหตุนิมิตโดยความเป็นภัย.
            บทว่า  ปณิธึ   ได้แก่  ตัณหา.
            บทว่า  อปฺปณิหิเต  - ในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง  คือ
ในนิพพานอันเป็นปฏิปักษ์ของตัณหา.
            บทว่า   อภินิเรสํ   ได้แก่   การถือมั่นตัวตน.
            บทว่า   สุญฺเต  ได้แก่   นิพพานอันว่างจากตัวตน.
            บทว่า   สุญฺโต   คือ  ความสูญนั่นแหละ    ชื่อว่า   สุญญต-
วิหาร.
            บทว่า  ปวตฺตํ  อชฺฌุเปกฺขิตฺวา  -  เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คือ
เพิกเฉยความเป็นไปอันเป็นวิบากด้วยความวางเฉยในสังขาร.     จริงอยู่
สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้พอใจความเป็นไปอันเป็นวิบากกล่าวคือ   สุคติ.  แต่
พระโยคาวจรนี้ประสงค์จะเข้าผลสมาบัติ     เห็นความเป็นไปแม้นั้นและ
สังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยง  ย่อมเพิกเฉยเสีย.  เพราะว่าครั้น
เห็นอย่างนี้แล้วย่อมสามารถเข้าผลสมาบัติได้.         ไม่สามารถเข้าได้โดย
ประการอื่น.
            บทว่า อาวชฺชิตฺวา - พิจารณาแล้ว  คือ พิจารณาด้วยอาวัชชนะ.
            บทว่า   สมาปชฺชติ - คือ   ย่อมเข้าถึงผลสมาบัติ.
            บทว่า  อนิมิตฺตา  สมาปตฺติ - สมาบัติอันหานิมิตมิได้   คือ
ชื่อว่าสมาบัติอันไม่มีนิมิต   เพราะเห็นนิมิตโดยความเป็นภัยแล้วเข้าถึง.
           บทว่า   อนิมิตฺตวิหารสมาปตติ -  วิหารสมาบัติอันหานิมิตมิได้
คือ   มีเป็นสองอย่างด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาวิหาร   และด้วยอำนาจแห่ง
ผลมาบัติ.
            บัดนี้    พระสารีบุตรเถระเมื่อจะจำแนกสังขารนิมิตแล้วแสดงจึง
กล่าวบทมีอาทิว่า  รูปนิมิตฺตํ.   ควรจะกล่าวในการถือเอาชราและมรณะ
ท่านกล่าวไว้ก่อนแล้ว.   เมื่อกล่าวด้วยบทมีอาทิว่า   อญฺโ   อนิมิตฺต-
วิหาโร   อนิมิตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง      พระสารีบุตรเถระแสดง
สรุปไว้แล้ว.  ญาณในความต่างวิปัสสนาวิหารของผู้ตั้งอยู่ในสังขารุเบก-
ขาญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งผลสมาบัติ    ชื่อว่าวิหารัฏฐญาณ   ญาณ
ในความต่างกันแห่งผลมาบัติ   ชื่อว่าสมาปัตตัฏฐญาณ.    ญาณในความ
ต่างกันทั้งสองอย่างนั้น   ชื่อว่าวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ
            พระโยคาวจรผู้ประสงค์จะน้อมไปด้วยวิปัสสนาวิหาร      ย่อมยัง
วิปัสสนาวิหารให้เป็นไป.   ประสงค์ยังจะน้อมไปด้วยผลสมาบัติวิหารขวน-
ขวายไปตามลำดับของวิปัสสนา   ย่อมยังผลสมาบัติให้เป็นไป.   ประสงค์
จะน้อมไปด้วยทั้งสองอย่างนั้น  ย่อมยังทั้งสองอย่างนั้นให้เป็นไป.  มี  ๓